สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์: ๐๓๖-๗๗๖๑๖๒

30 เมษายน 2556

สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรกรศาสตร์




สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน  จัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร คณะเกษตร ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2556 เรื่อง การพัฒนาหน่วยเรียนรู้การแปรรูปผลิตข้าวสำหรับเกษตรกร  ในวันที่ 30 เมษายน 2556 ระหว่างเวลา 09.00 – 14.30 น. ณ วัดพรหมทินใต้ ตำบลหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการปลูกข้าวที่ดีและการจัดการโรคข้าว การกำจัดวัชพืชสำหรับนาข้าว เครื่องสีข้าวกล้องสำหรับชุมชน  โดยมี นายคำรณห์ นิลลออ รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เป็นประธานเปิดการประชุม
ทั้งนี้ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี/เจ้าหน้าที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้ร่วมรับฟังการบรรยายและร่วมแสดงความคิดเห็น เรื่องดังกล่าว ดังรายนามต่อไปนี้
1.      นายธานินทร์ แสงวิภาสนภาพร สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
2.      นายโกเมศ ใบกว้าง สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
3.      นายสุรจิตร กล่ำวงศ์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
4.      นางอำพร เชียงทอง สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
5.      นายสำอาง แก้วประดับ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
6.      นายประทวน เที่ยงธรรม นักวิชาการเกษตร
7.      นางสาวณัฐกานต์ นาคนัตถ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนฯ ส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร
8.      นางสาวสุวภัภร ทองจันทร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนฯ ส่วนประเมินผลและกำกับการบริหารจัดการที่ดี
พร้อมกันนี้ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้แนะนำสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี/พนักงานสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี และชี้แจงบทบาทหน้าที่ ภารกิจหน้าที่ของสำนักงานฯ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ และยังได้เยี่ยมชมสถานโบราณและวัตถุโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ขุดพบ ณ บริเวณวัดพรหมทินใต้ อีกด้วย

29 เมษายน 2556



สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน  จัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร คณะเกษตร ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2556 เรื่อง การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการวินิจฉัยและการจัดการโรคข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต ในวันที่ 23 เมษายน 2556 ระหว่างเวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ที่ทำการกำนันตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวภัยโรคใบข้าวและวิธีการจัดการที่ถูกวิธี เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มผลผลิต โดยได้รับเกียรติจาก นายธานี มาลีหอม เกษตรอำเภอบ้านหมี่ เป็นประธานเปิดการประชุม
ทั้งนี้ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้ร่วมรับฟังการบรรยายเรื่องดังกล่าว ดังรายนามต่อไปนี้
1.      นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
2.      นายคำรณห์ นิลลออ รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
3.      นายนริศ พูลทรัพย์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
4.      นายธานินทร์ แสงวิภาสนภาพร สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
5.      นายจำเนียร ศักดิ์ไทยเจริญชัย สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
6.      นายมนู คงด่าน สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
7.      นายทองเพชร กรวยสวัสดิ์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
8.      นายณรงค์ คณาฤทธิ์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
9.      นายโกเมศ ใบกว้าง สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
10.  นายทวิน วิชานำ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี

18 เมษายน 2556

 

   เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556 ที่โรงเรียนบ้านหนองมะค่า ต. หนองมะค่า อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี     สภาเกษตรกรจังหวัดลบพุรีและสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้เข้าร่วมกิจกรรมจังหวัดเคลื่อนที่ โดยนำเอกสารไปเผยแพร่แนะนำสภาฯ  และนำกิ่งพันธุ์ไม้แจกจ่ายให้แก่เกษตรกรที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ////ภาพข่าวโดย นายประทวน เที่ยงธรรม




                  เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้ประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ครั้งที่ 6/2556 (วาระพิเศษ)โดยมีนายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้




              ในการประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีครั้งนี้ สำนักงานฯ ได้จัดกิจกรรมรดน้ำขอพร นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี และ นายจำลอง จันทรัตน์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ประจำปี พ.ศ. 2556 /// ภาพข่าวโดย นางสาวยุวภรณ์ บางแก้ว


เพิ่มคำอธิบายภาพ





เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 สภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี (นายสุรจิตร กล่ำวงษ์ ,นายจำเนียร        ศักดิ์ไทยเจริญชัย , นายทวิน วิชานำ) และสำนักงานฯ  เข้าร่วมกิจกรรมสัมพันธภาพอำเภอโคกเจริญ   โดยในภาคบ่ายเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเปตอง ซึ่งในการแข่งขันครั้งนี้ผู้แข่งขันได้รับรางวัลชนะเลิศประเภททีมชาย สำหรับในช่วงเย็นได้เข้าร่วมสรงน้ำพระประจำอำเภอ เจ้าคณะอำเภอ และนายสุรศักดิ์ จิตรอารีรัตน์ นายอำเภอโคกเจริญ กิจกรรมภาคค่ำพบปะสังสรรค์ฉลองสงกรานต์ปีใหม่ไทย ณ สนามหลังที่ว่าการอำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี // ภาพข่าวโดย นางสาวสุวภัทร ทองจันทร์



บทความข่าว





 
 
          นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมกับประธานสภาเกษตรกร  กลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (ภาคกลาง) แถลงข่าวข้อเรียกร้องของเกษตรกรถึงหน่วยงานราชการและรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือก เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมมุกดาหาร แกรนด์         อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร /ภาพข่าวโดย นางสาวณัฐกานต์ นาคนัตถ์ 

13 เมษายน 2556

แผนที่ตั้งสำนักงาน




สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
168/30-31 หมู่ที่ 6 ถนนลพบุรี - สิงห์บุรี ตำบลโพตลาดแก้ว อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี 15150 โทรศัพท์ 036-772162

บุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี



แนะนำสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี


อำนาจหน้าที่ของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี


  1. รับผิดชอบงานด้านธุรการ และทำหน้าที่เป็นเลขานุการของสภาเกษตรกรจังหวัด
  2. รวบรวม ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
  3. ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ได้ทราบถึงนโยบาย แผนพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัด และการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
  4. จัดให้มีฐานระบบข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลงานการวิจัยและองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิต ผลผลิต การแปรรูป ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม รวมทั้งการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  5. ประสานการดำเนินงานกับเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  6. จัดทำรายงานประจำปีของสภาเกษตรกรจังหวัด
  7. ปฎิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสภาเกษตรกรจังหวัดมอบหมาย

อำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี


ประเด็นยุทธศาสตร์

  1. สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นต่อสภาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร
  2. จัดทำฐานข้อมูลด้านการเกษตรเพื่อประกอบการตัดสินใจ
  3. บูรณาการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมจากล่างสู่บน
  4. สร้างความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรม

พันธกิจ

         1. พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงให้แก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรเพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
2. สร้างเครือข่ายเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการอาชีพเกษตรกรรมโดยเชื่อมโยงกับภาครัฐผู้ประกอบการเอกชนทุกระดับ เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้ได้รับความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุด
3. บูรณาการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมจากล่างสู่บน
4. จัดระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริงและทันเวลา เพื่อประกอบการตัดสินใจของเกษตรกรองค์กรเกษตรกรและใช้กำหนดนโยบายของรัฐ
          5. ส่งเสริมและสนับสนุนค้นคว้า วิจัย และพัฒนาภูมิปัญญา พันธุกรรมพืชและสัตว์ท้องถิ่น ประมง นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม   และเกษตรกรรมอื่นๆ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการค้นคว้าวิจัยพัฒนา

วิสัยทัศน์




อำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ

  สภาเกษตรกรแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดนโยบายการส่งเสริม และการพัฒนาความเข้มแข็งแก่เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การผลิต การแปรรูป การตลาด และการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
  2. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบาย และแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ระบบวนเกษตร ระบบเกษตรธรรมชาติ ระบบไร่นาสวนผสม ระบบเกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรรมรูปแบบอื่น
  3. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร การพัฒนาเกษตรกรรม รวมทั้งการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. เสนอแผนแม่บทต่อคณะรัฐมนตรี
  5. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริม และสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านพันธุธรรมพืช และสัตว์ท้องถิ่น ผลผลิตทางเกษตรกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปผลผลิตทางเกษตรกรรม
  6. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดแนวทางการประกันความเสี่ยงของราคา และผลผลิตทางเกษตรกรรม รวมทั้งการกำหนดสวัสดิการให้แก่เกษตรกร
  7. เสริมสร้างคาวมร่วมมือ และประสานงานกับภาครัฐ และเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาเกษตรกรรม
  8. พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร
  9. ให้ความเห็นต่อนโยบาย กฎหมาย หรือข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง และมีผลกระทบต่อเกษตรกร
  10. ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกร และตามที่สภาเกษตรกรจังหวัดเสนอ
  11. แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษาตามความจำเป็น
  12. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ความเป็นมาของสภาเกษตรกรแห่งชาติ


             สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 84(8) ประกอบมาตรา 303(1) ได้บัญญัติให้รัฐจัดทำกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกรให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการยกร่างกฎหมาย ว่าด้วยสภาเกษตรกร โดยมี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) เป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการกองนิติการ (ขณะนั้น) เป็นกรรมการ และเลขานุการ เพื่อ ดำเนินการ ศึกษา และยกร่างกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกร คณะกรรมการฯ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.... ซึ่งเป็นกฎหมาย ที่ให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพในการคุ้มครอง รักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับการผลิต และการตลาดเพื่อให้ผลิตผลทางการเกษตร ได้รับผลตอบแทนสูงสุด และมีสภาสำหรับเกษตรกร ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนเสริมสร้างสมานฉันท์ ของเกษตรกรทั้งประเทศ ทำให้เกษตรกร มีความเข็มแข็ง และมีการรวมตัวกัน อย่างเป็นเอกภาพ โดยสร้างเครือข่ายเกษตรกร นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถจัดทำแผนแม่บท เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา กำหนดนโยบาย ให้สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพปัญหาอันแท้จริง รวมทั้งให้เกษตรกรได้รับ การพัฒนา ส่งเสริมให้ได้รับความร ู้และข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรรมด้านต่างๆในการนี้ ได้มีการนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกไปรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ แต่ละภาค รวม 4 ภาค แล้วนำข้อมูลที่ได้ จากการรับฟังความคิดเห็น มาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และได้เสนอไปยัง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ดำเนินการ ตามกระบวนการตรากฎหมาย

                 ความเป็นมาของร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.....


         ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ..... มีผู้เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา รวม 9 ฉบับ คือ
  1. คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เสนอต่อ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุม สภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 19 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 28 มีนาคม 2552
  2. นายเจริญ จรรย์โกมล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน กับคณะ (ปัจจุบันคือพรรคเพื่อไทย) ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 22 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 8 เมษายน 2552
  3. นายศุภชัย โพธ์สุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษกร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 และได้บรรจุ ระเบียบวาระการประชุม สภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 22 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 8 เมษายน 2552
  4. นายขยัน วิพรหมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 22 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 8 เมษายน 2552
  5. นายอนันต์ ศรีพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 26 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2552
  6. นายสถาพร มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 28 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2552
  7. นายภราดร ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคชาติไทยพัฒนา กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 9 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ 9 กันยายน 2552