สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์: ๐๓๖-๗๗๖๑๖๒

30 พฤษภาคม 2556

ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด จังหวัดลพบุรี ครั้งที่ ๙/๒๕๕๖

             สำนักงานการค้าภายในจังหวัดลพบุรี ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด จังหวัดลพบุรี ครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ณ ห้องประชุมสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี โดยมี นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุม ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าร่วมประชุม ในการประชุมมีสาระสำคัญการพิจารณา เรื่อง การดำเนินงานตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก และการพิจารณาจัดเกรดและรับรองโกดังกลางที่สมัครเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 เพิ่มเติม.

                                                                                          สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
                                                                                           ๐๓๖-๔๒๔๑๐๗,๐๘๙-๘๐๑๒๔๙๑



29 พฤษภาคม 2556

สืบสานประเพณีแห่บั้งไฟที่โคกเจริญ ขอฝนและส่งเสริมการท่องเที่ยว



ลพบุรี สืบสานประเพณีแห่บั้งไฟที่โคกเจริญขอฝนและส่งเสริมการท่องเที่ยว
                     ชาวบ้านโคกเจริญรวมใจจัดงานบุญบั้งไฟ จัดที่ วัดโคกเจริญ หมู่บ้านโคกเจริญ อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี โดยมี นายสุรศักดิ์ จิตอารีรัตน์ นายอำเภอโคกเจริญเป็นประธานในพิธี และนายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม  ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีให้การสนับสนุนงานประเพณีบั้งไฟและได้จัดหาถ้วยรางวัลมอบให้สำหรับรางวัลชนะเลิศขบวนแห่ บั้งไฟ ประจำปี ๒๕๕๖ ให้ด้วย    นายสังคม แก้วสีโส นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวอีสานที่ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในอำเภอโคกเจริญ งานบุญบั้งไฟนี้ ชาวบ้านโคกเจริญได้ปฏิบัติกันเป็นประเพณีประจำทุกปี โดยนิยมจัดในเดือน ๖ ซึ่งถือกันว่าเป็นประเพณีขอฝน ตามความเชื่อของชาวอีสาน ก่อให้เกิดความชุ่มชื้นแก่พันธุ์พืชที่ปลูกอีกทั้งเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ ร่วมมือร่วมใจกันและที่สำคัญเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเขตอำเภอรอบนอกให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ที่อยากเห็นประเพณีงานบุญบั้งไฟตลอดจนการศึกษาดูงาน โดยไม่ต้องไปถึงภาคอีสาน
                     การจัดงานในครั้งนี้ประกอบไปด้วยขบวนแห่บั้งไฟตกแต่งอย่างสวยงามของแต่ละหมู่บ้านและสถานศึกษา มีผู้ร่วมงานกว่าพันคน มี การแสดงการฟ้อนรำแบบอีสาน และการประกวดขบวนแห่บั้งไฟ สำหรับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่  ขบวนแห่และฟ้อนรำแบบอีสานของโรงเรียนโคกเจริญวิทยา
                     สุดท้ายก่อนปิดงาน นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม  ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีได้แจกพันธุ์ข้าวเหนียว กข6 พระราชทานเนื่องในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 12-๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกษตรกรได้ไปเพาะปลูกเพื่อเป็นศิริมงคลและขยายพันธุ์ ต่อไป.
ภาพข่าวโดย: วัชระ รื่นอุดม/ลพบุรี 

27 พฤษภาคม 2556

๑๐ วิธี ประหยัดพลังงาน

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่สำคัญ นับวันยิ่งทวีความรุ่นแรงมากขึ้น


         การรณรงค์เพื่อช่วยกันลดภาวะโลกร้อนอาจไม่เพียงพอ ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนควรให้ความร่วมมือ และร่วมสนับสนุนในการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติให้ดำรงอยู่ตราบนานเท่านาน สู่ลูกหลานรุ่นต่อไป

๑๐ วิธี ประหยัดพลังงาน
เริ่มง่ายๆ ที่บ้านของเรา



  • ปลูกต้มไม้ใหญ่ๆ สัก ๒-๓ ต้น รอบๆ บ้าน พอถึงหน้าร้อนก็จะได้ร่มเงาบังแสงแดด ล่วงสู่หน้าหนาวก็มีต้นไม้ไว้บังลม
  • ติดฉนวนกันความร้อน
  • ถ้าที่บานเราต้องการใช้โทรศัพท์ไร้สาย ให้เลือกซื้อรุ่นที่มีแบตเตอรี่่แบบประจุไฟใหม่ได้
  • ถ้าจะเลือซือคอมพิวเตอร์ใหม่ ให้เลือกซื้อแบบโน๊ตบุ๊ก เพราะกินไฟน้อยกว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (พีซี)
  • เลือกใช้กระจกกันความร้อน เพื่อลดปริมาณการใช้เครื่องปรับอากาศหรือแอร์
  • อาบน้ำฝักบัวช่วยประหยัดน้ำมากกว่าอาบน้ำในอ่างถึง ๑ เท่า
  • ใช้หลอดประหยัดไฟฟ้า
  • โทรทัศน์ เครื่องเสียง เครื่องเล่นวีซีดี/ ดีวีดี ยังต้องมีกระแสไฟฟ้าเข้าไปเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา แม้จะปิดเครื่องแล้ว ดังนั้นถ้าไม่ใช้งานควรถอดปล้๊กไฟออก
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ ควรเลือซื้อรุ่นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์สูงๆ กำกับไว้
  • ถ้ามีบ้านหลังใหญ่ควรติดตั้งระบบเซ็นทรัลแอร์ หรือ จ่ายแอร์จากท่อแอร์รวม แต่ถ้าต้องการติดแอร์ในห้องๆ เดียวให้เลือกซื้อแอร์ที่มีกำลังในการทำงานเย็นที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง

24 พฤษภาคม 2556

23 พฤษภาคม 2556

ประชุมการทบทวนการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม จังหวัดลพบุรี

                 นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าร่วมประชุมการทบทวนการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม จังหวัดลพบุรี เพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมจังหวัดลพบุรี ที่ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 4 ชนิด ประกอบด้วย ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงาน ที่เป็นพื้นที่เหมาะสม พื้นที่ไม่เหมาะสม และพื้นที่ป่าไม้ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี โดยมี นายไชยรัตน์ นวีภาพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุม 


                                                                                            สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
                                                                                             ๐๓๖-๔๒๔๑๐๗,๐๘๙-๘๐๑๒๔๙๑


การประชุมคณะอนุกรรมการการประกวดเกษตรกรปราดเปรื่องด้านการผลิตข้าว ระดับจังหวัด ครั้งที่ 4/2556

          สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการการประกวดเกษตรกรปราดเปรื่องด้านการผลิตข้าว ระดับจังหวัด ครั้งที่ ๔/๒๕๕๖ ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี โดยมี นายไชยรัตน์ นวีภาพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุม เพื่อพิจารณารายงานผลการปลูกข้าวของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประกวดเกษตรกรปราดเปรื่องด้านการเกษตรกร และตัดสินการประกวดเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกเกษตรปราดเปรื่องด้านการผลิตข้าว ระดับจังหวัด โดยเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือก มีดังนี้

            1. นายบุญชู ปาระมี
            2. นายสิรภพ พูลเปี่ยม
            3. นายอนิวรรต์ ไพรดำ
                                                                                    สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
                                                                                     ๐๓๖-๔๒๔๑๐๗,๐๘๙-๘๐๑๒๔๙๑



14 พฤษภาคม 2556

 แหล่งน้ำธรรมชาติ ในจังหวัดลพบุรี

แหล่งน้ำผิวดิน

จากสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดลพบุรีตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยแม่น้ำป่าสักไหลพาดผ่านทางซีกตะวันตก มีทรัพยากรแหล่งน้ำที่สำคัญมากมายหลายแห่ง ซึ่งได้แก่

1. แม่น้ำลพบุรี เป็นแม่น้ำที่แยกสาขาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดสิงห์บุรี ต้นน้ำแยกออกจากแม่น้ำ
เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกหรือฝั่งซ้าย ในท้องที่เขตติดต่อระหว่างหมู่ที่ 5 บ้านม่วงหมู่ตำบลม่วงหมู่ และหมู่ที่ 8บ้านเตาปูน ตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แล้วไหลผ่านท้องที่บางส่วนของ 3 จังหวัด รวม 7 อำเภอได้แก่ อ.เมืองสิงห์บุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี อำเภอท่าวุ้ง อ.เมือง จังหวัดลพบุรี อ.บ้านแพรก อ.มหาราช อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา และไปบรรจบแม่น้ำป่าสักที่ตำบล หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาต่อไปมีความยาวลำน้ำ 95 กิโลเมตร ซึ่งช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดลพบุรีมีความยาว 45 กิโลเมตรลักษณะของลำน้ำค่อนข้างแคบมีตลิ่งสูงชัน มีความกว้างประมาณ 40-60 เมตร ลึกประมาณ 6-10เมตร แม่น้ำลพบุรีอยู่ในความดูแลของกรมเจ้าท่าและมีลำน้ำสาขาที่สำคัญได้แก่ คลองบางคู แม่น้ำบางขามคลองบางแก้วคลองบางพระคู เป็นต้น บริเวณตลิ่งสองฝั่งลำน้ำมีชุมชนและราษฎรตั้งบ้านเรือนอยู่ตลอดแนวโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านเขตเทศบาลจะมีอาคารบ้านเรือนตั้งอยู่อย่างหนาแน่น ดังนั้นแม่น้ำลพบุรีจึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชน สำหรับกิจกรรมการใช้น้ำด้านต่างๆ ตลอดมา จึงนับได้ว่าเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวลพบุรี 
แม่น้ำลพบุรี 

2. แม่น้ำป่าสัก มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในจังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์ แล้วไหลผ่านจังหวัดลพบุรีในเขตอำเภอชัยบาดาล โคกสำโรง และพัฒนานิคม ผ่านจังหวัดสระบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้วไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลุ่มน้ำป่าสักเป็นลุ่มน้ำที่สำคัญครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด คือ จังหวัดเลย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี โดยมีทิศทางการไหลจากเหนือลงใต้ผ่านพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี ลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำป่าสักโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยภูเขาทั้งสองด้านมีลำน้ำสาขาแยกมาจากทางตะวันออกและตะวันตกเป็นจำนวนมาก แต่ลำน้ำสาขาส่วนใหญ่จะสั้นและมีพื้นที่รับน้ำขนาดเล็กมีลักษณะแคบและเรียวยาวคล้ายขนนก มีความยาว 573 กิโลเมตร พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ14,520 ตารางกิโลเมตร แม่น้ำสายนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในพื้นที่การเกษตรด้านตะวันออกของจังหวัดลพบุรี 
                                                                           แม่น้ำป่าสัก

3. แม่น้ำบางขาม เป็นลำน้ำสายหลักของเกษตรกร ในเขตอำเภอบ้านหมี่ อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอเมืองลพบุรี มีความยาวประมาณ 50 กิโลเมตร ในอดีตต้นน้ำของลำน้ำบางขาม อยู่ในเขตตำบลจันเสน อำเภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์ แต่เนื่องจากสภาพของลำน้ำบางแห่งมีความตื้นเขิน ปัจจุบันจึงเปลี่ยนมารับน้ำจากคลองอนุศาสนนันต์ (คลองชลประทาน) ทางประตูน้ำหนองเมือง ประตูน้ำบ้านกล้วย และคลองสายอื่นๆ แทน โดยจุดเริ่มต้นของคลองเริ่มจากตำบลสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ไหลผ่านตำบลต่างๆ ได้แก่ ตำบลมหาสอน ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางขาม ตำบลบ้านชี ตำบลเขาสมอคอน ตำบล โคกสลุด ตำบลมุจรินทร์ ตำบลบางลี่ มาบรรจบกับแม่น้ำลพบุรีที่ปากคลองบางคู้ ที่วัดมณีชลขันธ์ อำเภอเมืองลพบุรี ซึ่งความกว้างของลำน้ำบางขาม ในจุดที่กว้างที่สุดอยู่ในตำบลบางพึ่งและตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี กว้างประมาณ 50 เมตร 
4. คลองชลประทานชัยนาท - ป่าสัก มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี มีความยาวประมาณ 132 กิโลเมตร ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสักที่บริเวณหน้าเขื่อนพระราม 6 อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสำคัญต่อการเกษตรกรรม

5. ลำธารลำสนธิ เป็นลำธารไหลผ่านเขตอำเภอลำสนธิและไหลลงสู่แม่น้ำป่าสักในเขตอำเภอชัยบาดาล

นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด จังหวัดลพบุรี ครั้งที่ 8/2556

             สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด จังหวัดลพบุรี ครั้งที่ 8/2556 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ณ ห้องประชุมสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี โดยมี นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุม ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าร่วมประชุม ในการประชุมมีสาระสำคัญการพิจารณา เรื่อง การดำเนินงานตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก และการพิจารณาจัดเกรดและรับรองโกดังกลางที่สมัครเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 เพิ่มเติม.

11 พฤษภาคม 2556

การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพืชพลังงาน - ทิศทางเกษตร









        ผศ.ดร.กนกศักดิ์ เอี่ยมโอภาส หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหา วิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่าการผลิตไฟฟ้าที่มีศักยภาพสูงเหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งมีพื้นฐานเป็นประเทศเกษตรกรรม คือการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพืชพลังงาน
       ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีที่นำมากำ จัดขยะอินทรีย์มีวิธีกำจัดอยู่ 2 แบบ คือการนำไปหมักทำปุ๋ย และการนำไปหมักทำก๊าซชีวภาพ ในกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ เป็นการนำสารอินทรีย์ไปหมักในถังหมักแบบปิด ในกระบวนการหมักสารอินทรีย์จะถูกย่อยสลาย และได้ก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นก๊าซมีเทน ประมาณ 50-60% ก๊าซมีเทนนี้เป็นก๊าซชนิดเดียวกันกับก๊าซธรรมชาติซึ่งมีองค์ประกอบหลักเป็นก๊าซมีเทนประมาณ 70-80% ขึ้นอยู่กับแหล่งก๊าซธรรมชาติ ดังนั้นก๊าซชีวภาพจึงเป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่สามารถนำไปเดินชุดเครื่องยนต์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ตัวอย่างของก๊าซ ชีวภาพที่ใช้ผลิตไฟฟ้ากันอย่างแพร่หลายแล้วคือก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรต่าง ๆ ซึ่งพื้นฐานของการเกิดก๊าซชีวภาพคือการย่อยสลายของอินทรียวัตถุในกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ
        จากการศึกษาวิจัยด้านกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ เพื่อศึกษาศักยภาพการเกิดก๊าซชีวภาพของขยะอินทรีย์ และเศษวัสดุทางการเกษตรของประเทศไทยที่มีมาประมาณ 10 ปี โดยการศึกษาวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป และเป็นการศึกษาร่วมกับนักวิจัยจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พบว่าศักยภาพของการผลิตพลังงานทดแทนจากพืชต่าง ๆ สามารถทำได้ และจากการศึกษาดูงานวิจัยในประเทศเยอรมนี เมื่อประมาณ 7-8 ปีที่แล้ว ที่นั่นมีการส่งเสริมการปลูกพืชโตเร็ว เช่น หญ้า เพื่อใช้หมักทำก๊าซชีวภาพ เนื่องจากในประเทศเยอรมนี มีการกำจัดขยะอินทรีย์ด้วยกระบวนการหมักกันอย่างแพร่หลาย และมีจำนวนโรงไฟฟ้าประเภทนี้มากกว่า 5,000 โรง
        ปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งเสริมการผลิตพลังงานจากหญ้าเนเปียร์ หรือที่เรียกกันว่าหญ้าเลี้ยงช้าง โดยส่งเสริมการผลิตเพื่อเลี้ยงสัตว์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี งานวิจัยที่ดำเนินการจะเน้นการศึกษาปริมาณก๊าซชีวภาพสำหรับพืชต่าง ๆ ของประเทศไทย เช่น ต้นข้าวโพดฝักอ่อนซึ่งหักฝักไปขายแล้ว ใบปาล์ม ต้นกล้วย ผักตบชวา และเศษพืชอื่น ๆ รวมทั้ง หญ้าเนเปียร์ด้วย พร้อมกันนี้ยังมีการศึกษาวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อนำไปใช้งานเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1-2 เมกะวัตต์ ซึ่งได้รับความร่วมมือสนับ สนุนข้อมูลเทคโนโลยีจากเยอรมนี
        ในขณะเดียวกันก็ได้มีการศึกษาด้านการปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตในแปลงเพาะปลูกขนาดใหญ่โดยร่วมมือกับผู้ทำวิจัยซึ่งเป็นเกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี จนได้ข้อมูลที่ มั่นใจว่าการบริหารจัดการโครงการโรงไฟฟ้า จากหญ้าเนเปียร์จะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

ภาพและข่าวจาก: เดลีนิวส์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2556 http://www.dailynews.co.th/agriculture/203256
อาณาจักรละโว้
          เมืองละโว้ เมื่อแรกก่อตั้งนั้น ปรากฏข้อความในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระพุทธศักราช 1002 ปี จุลศักราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก จึงพระยากาฬวรรณดิศราชบุตรของพระยากากะพัตรได้เสวยราชสมบัติ เมืองตักกะศิลามหานคร จึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพลไปสร้างเมืองละโว้ จากข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารเหนือ พอจะสรุปได้ว่าเมืองละโว้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 1002 แล้ว และจากการขุดค้นทางโบราณคดี ปรากฏว่าตั้งแต่อำเภอชัยบาดาล ถึงอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ล้วนแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์ในอดีตที่ยาวนานมาแล้ว จากชุมชนขนาดย่อมขยายเป็นเมืองเล็กๆ จนกระทั่งรวมตัวกันเป็นอาณาจักรหรือเขตปกครองที่เป็นส่วนย่อยของประเทศ ราวพุทธศตวรรษที่ 10 – 12 ละโว้กลายเป็นอาณาจักรหรือเมืองขนาดใหญ่แล้ว และในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 อาณาจักรละโว้มีความรุ่งเรืองอย่างมาก โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา อาณาจักรละโว้ มีความเจริญมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีอิทธิพลครอบคลุมดินแดนภาคกลางตอนบน ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์เรื่อยมาจนถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยบางส่วน ศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้ในตอนต้นสันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองลพบุรี และประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอโยธยา ภายหลังต่อมาเมื่อใน พ.ศ.1893 ได้มีการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาขึ้นนั้นให้ละโว้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา


พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี 
แสดงให้เห็นอิทธิพลของศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา 

ที่มาภาพ http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/others/wilaiporn/61.2.jpg

หลังจากพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา อาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามายังบริเวณนี้ ทำให้ความสำคัญของอาณาจักรละโว้ลดลง อิทธิพลศิลปวัฒนธรรมของขอมได้แพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และเลยมาทางตะวันตกได้แก่ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี และในช่วงเวลาดังกล่าวละโว้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางภาคกลาง จึงได้รับอิทธิพลศิลปะขอม โดยนำมาผสมผสานรูปแบบให้เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ได้แก่ พระปรางค์สามยอด และเทวสถานปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี

10 พฤษภาคม 2556

วันพืชมงคล ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖




         



          เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี ได้จัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบาย Smart farmer และ Smart Officer จังหวัดลพบุรี ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี โดยมีนายธนาคม จงจิระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุม ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี และนายสำอาง แก้วประดับ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าร่วมประชุม ในการพิจารณา เรื่องการสรรหา Smart farmer ในจังหวัดลพบุรี

แผนภูมิแสดงพื้นที่และการใช้พื้นที่เพื่อการเกษตร




9 พฤษภาคม 2556

ข้อมูลจังหวัดลพบุรี


จังหวัดลพบุรี

ข้อมูลทั่วไป






ลพบุรี เป็นเมืองสำคัญเก่าแก่เมืองหนึ่งตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เคยอยู่ใต้อำนาจมอญและขอมจนกระทั่ง ในตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 19 คนไทยจึงเริ่มมีอำนาจขึ้นในดินแดนแถบนี้ ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ลพบุรีมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง กล่าวคือพระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้พระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จมาครองเมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 1893 พระราเมศวรโปรดให้สร้างป้อม ขุดคู และสร้างกำแพงเมืองอย่างมั่นคง เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคตใน พ.ศ. 1912 พระราเมศวรต้องถวายราชบัลลังก์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์พระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 1 ส่วนพระราเมศวร ครองเมืองลพบุรีสืบต่อไป จนถึง พ.ศ. 1931 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สอง หลังจากนั้นมาเมืองลพบุรีได้ลดความสำคัญลงไปจนกระทั่งมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงครั้งใหญ่ สืบเนื่องมาจากการคุกคามของชนชาติฮอลันดาที่ติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยานั้นไม่สู้ปลอดภัยจากการปิดล้อมระดมยิงของข้าศึกหากเกิดสงคราม จึงได้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีที่สองขึ้น เพราะลพบุรีมีลักษณะทางยุทธศาสตร์เหมาะสม ในการสร้างลพบุรีขึ้นใหม่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงได้รับความช่วยเหลือจากช่างชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน และได้สร้างพระราชวังและป้อมปราการเป็นแนวป้องกันอย่างแข็งแรง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ประทับอยู่ที่ลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ และโปรดให้ทูตและชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพระองค์ที่เมืองนี้หลายครั้ง สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯ แล้ว ลพบุรีก็หมดความสำคัญลง สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงย้ายหน่วยราชการทั้งหมดกลับกรุงศรีอายุธยา ในรัชกาลต่อๆ มา ก็ไม่ได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้อีก จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ.ศ. 2406 โปรดฯ ให้บูรณะเมืองลพบุรี ซ่อมกำแพง ป้อม และประตูพระราชวังที่ชำรุดทรุดโทรม และสร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นในพระราชวังเป็นที่ประทับ และพระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” ลพบุรีจึงแปรสภาพเป็นเมืองสำคัญอีกวาระหนึ่ง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งได้สร้างเมืองลพบุรีใหม่อันเป็นเมืองทหารอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางรถไฟ มีอาณาเขตกว้างขวาง ส่วนเมืองเก่านั้นอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟ เมืองลพบุรีจึงเป็นศูนย์กลางสำคัญทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่งในปัจจุบันนี้
ลพบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 153 กม. มีเนื้อที่ทั้งหมด 6,199.753 ตารางกิโลเมตร
มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดต่างๆ ดังนี้

ทิศเหนือ จดจังหวัดเพชรบูรณ์ และนครสวรรค์
ทิศใต้ จดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสระบุรี
ทิศตะวันออก จดจังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิ
ทิศตะวันตก จดจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และนครสวรรค์

ระยะทางจากอำเภอเมืองลพบุรีไปยังอำเภอต่างๆ

อำเภอท่าวุ้ง ระยะทาง 15 กิโลเมตร
อำเภอบ้านหมี่ ระยะทาง 32 กิโลเมตร
อำเภอโคกสำโรง ระยะทาง 35 กิโลเมตร
อำเภอพัฒนานิคม ระยะทาง 51 กิโลเมตร
อำเภอสระโบสถ์ ระยะทาง 65 กิโลเมตร
อำเภอโคกเจริญ ระยะทาง 77 กิโลเมตร
อำเภอท่าหลวง ระยะทาง 83 กิโลเมตร
อำเภอชัยบาดาล ระยะทาง 97 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอหนองม่วง ระยะทาง 54 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอลำสนธิ ระยะทาง 120 กิโลเมตร

ระยะทางจากจังหวัดลพบุรีไปยังจังหวัดใกล้เคียง

สิงห์บุรี ระยะทาง 33 กิโลเมตร
สระบุรี ระยะทาง 46 กิโลเมตร
อ่างทอง ระยะทาง 67 กิโลเมตร
พระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 98 กิโลเมตร




แผนที่จังหวัดลพบุรี



การเดินทาง

ทางรถยนต์

ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดลพบุรีได้ 2 เส้นทาง คือ 1. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เข้าทางอำเภอบางปะหัน ผ่าน อำเภอนครหลวง แล้วเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3196 ผ่านอำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเข้าสู่จังหวัดลพบุรี 2. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ซึ่งแยกจากทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านไปทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทองและสิงห์บุรีจากนั้นจึงใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311(สายสิงห์บุรี-ลพบุรี) ผ่านอำเภอท่าวุ้ง เข้าสู่ตัวจังหวัดลพบุรี


ทางรถประจำทาง

ทางรถโดยสาร มีรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว รายละเอียดติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-936-2852-66 หรือ Call Center 1490


ทางรถไฟ

ทางรถไฟ การเดินทางโดยรถไฟ สามารถเดินทางโดยรถไฟสายเหนือ ออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน วันละหลายเที่ยว รายละเอียดติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010,223-7020


ประเพณี



งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดขึ้นในช่วงประมาณวันที่ 16-21 กุมภาพันธ์ ทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีต่อลพบุรีและประเทศชาติ เนื่องจากเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สองในสมัยนั้น ที่พระองค์ทรงโปรดปรานประทับอยู่ที่นี่นานกว่าที่กรุงศรีอยุธยา บริเวณงานส่วนใหญ่อยู่ ที่บริเวณพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เริ่มด้วยพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ ของสมเด็จพระนารายณ์ ขบวนแห่ต่างๆ เช่น ขบวนแห่พระราชสาสน์ ขบวนเจ้านายชั้นสูงฝ่ายใน ขบวนทหาร ฯลฯ การแต่งกายสมัยพระนารายณ์ฯ การแสดงการละเล่น การประดับประทีบโคมไฟ ในพระราชวังเพื่อทำให้บรรยากาศให้กลับคืนสู่อดีตเมื่อ 300 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีนิทรรศการพิเศษ เกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สมัยนั้น ตลอดจนการออกร้านขายสินค้าพื้นเมือง

ประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวน ซึ่งมีอยู่หลายหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอบ้านหมี่ จัดขึ้นเพื่อขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้าและบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มักจะถือเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสุกดิบ และรุ่งขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวัดกำฟ้า โดยชาวบ้านจะร่วมกันใส่บาตรด้วยข้าวหลามและข้าวจี่ และจะหยุดงานหนึ่งวัน ตกบ่ายมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น มอญซ่อนผ้า ช่วงชัย เป็นต้น

ประเพณีใส่กระจาด หรือประเพณีเสื่อกระจาด ตามภาษาพวน เรียกว่า “ใสกระจาด” เป็นประเพณีของชาวไทยพวนซึ่งถือปฏิบัติกันในเขตอำเภอบ้านหมี่ จัดให้มีขึ้นในงานเทศกาลเทศมหาชาติ ส่วนมากจะกำหนดในฤดูกาลออกพรรษา คือระยะเดือน 11 ข้างแรม ก่อนถึงวันใส่กระจาดหนึ่งวัน ชาวบ้านจะช่วยกันทำขนมห่อข้าวต้ม ตำข้าวปุ้น รุ่งขึ้นจะเป็นวันใส่กระจาด ชาวบ้านจะนำของ เช่น กล้วย อ้อย ส้ม ธูป เทียน หรือสินค้าอื่นๆ มาใส่กระจาดตามบ้านของคนที่ตนรู้จัก เจ้าของบ้านก็จะนำอาหารที่เตรียมไว้มาเลี้ยงรับรองแขก เมื่อแขกจะกลับเจ้าของบ้านจะนำข้าวต้มมัดฝากไปให้ เรียกว่า “คืนกระจาด” ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันเทศน์ มหาชาติจะนำของที่แขกมาใส่กระจาดทำเป็นกัณฑ์ไปถวายพระที่วัด โดยถือว่าการทำบุญมหาชาตินี้เป็นการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ประจำปี

ประเพณีชักพระศรีอาริย์ วัดไลย์ ประเพณีชักพระศรีอาริย์ หรือแห่พระศรีอาริย์ถือปฏิบัติกันมาช้านาน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ประมาณเดือนพฤษภาคมซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา) ของทุกปี ทางวัดจะจัดให้มีการอัญเชิญพระศรีอาริย์มาประดิษฐานบนแท่นตะเฆ่ แล้วให้ประชาชนร่วมกันชักพระไปทางทิศเหนือ เริ่มจากวัดไลย์ไปสุดทางที่วัดท้องคุ้ง แล้วชักกลับมายังวัดไลย์ ระหว่างทางจะมีผู้เข้าร่วมขบวนเป็นจำนวนมาก จะหยุดขบวนในแต่ละจุดเพื่อให้ผู้ที่ศรัทธาได้สรงน้ำและนมัสการ นอกจากนั้นตลอดระยะทางที่แห่พระศรีอาริย์ไปนั้นจะมีผู้ตั้งโรงทานสำหรับ

ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาแต่พุทธกาล ในจังหวัดลพบุรีได้มีประเพณีกวนข้าวทิพย์หลายแห่ง โดยเฉพาะที่วัดนิคมสามัคคีชัย ตำบลนิคม อำเภอเมือง ลพบุรี ได้ทำพิธีกวนข้าวทิพย์มานานกว่า 20 ปีแล้ว โดยจะกระทำในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 และจะนำไปถวายในวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ส่วนที่เหลือก็จะแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ไปร่วมทำบุญในวันนั้น ถือเป็นการให้ทาน

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเมือง

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรีใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรี บริเวณหัวถนนนารายณ์มหาราชก่อนเข้าสู่ย่านตัวเมือง อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นรูปปั้นในท่าประทับยืนผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ก้าวพระบาทซ้ายออกมาข้างหน้าเล็กน้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2509 ที่ฐานอนุสาวรีย์ได้จารึกข้อความว่า “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ไทยผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ทรงพระราชสมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2175 สวรรคต ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2231 พระองค์ทรงมีพระบรมราชกฤษดาภินิหารเป็นอย่างยิ่ง” ในรัชสมัยของพระองค์ วรรณคดีและศิลปะของไทยได้เจริญถึงขีดสูงสุด มีสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศอย่างกว้างขวาง เกียรติคุณของประเทศไทยแผ่ไพศาลเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันสร้าง และประดิษฐานอนุสาวรีย์นี้ไว้ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509

สระแก้ว ตั้งอยู่กลางวงเวียนศรีสุริโยทัย หรือวงเวียนสระแก้ว ถนนนารายณ์มหาราช เป็นสระน้ำขนาดใหญ่กลางสระมีสถาปัตยกรรมรูปร่างคล้ายเทียนขนาดยักษ์ ตั้งอยู่บนพานขนาดใหญ่รอบขอบพานประดับเครื่องหมายประจำกระทรวงต่าง ๆ มีสะพานเชื่อมถึงกันโดยรอบทั้ง 4 ทิศ ที่เชิงสะพานมีคชสีห์ในท่านั่งหมอบเป็นยามอยู่สะพานละ 2 ตัว

สวนสัตว์สระแก้วลพบุรี ตั้งอยู่หลังโรงภาพยนต์ทหารบก สวนสัตว์แห่งนี้สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2483 สมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้มุ่งพัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นเมืองสำคัญ โดยได้ก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ มากมายรวมทั้งสวนสัตว์แห่งนี้ด้วย ต่อมาเมื่อสิ้นยุคสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม สวนสัตว์ก็พลอยถูกทอดทิ้งและร้างไปในที่สุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ศูนย์สงครามพิเศษ ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่สวนสัตว์ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งชมรม สโมสร พ่อค้า ประชาชน ดำเนินการปรับปรุงบูรณะสวนสัตว์แห่งใหม่ ให้เป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งสำหรับศึกษาหาความรู้ในเรื่องสัตว์และพืช สวนสัตว์สระแก้วลพบุรี มีบริการร่มรื่น กว้างขวาง มีสัตว์ต่าง ๆ หลายชนิด มีสนามเด็กเล่น ศาลาอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ มีสระน้ำสำหรับผู้ประสงค์จะลอยเรือเล่น นับเป็นสวนสัตว์ในต่างจังหวัดที่มีความสมบูรณ์พอสมควรแก่การบริการประชาชนในท้องถิ้น เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 18.00 น. ค่าผ่านประตูผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท รถยนต์ 5 บาท

พระที่นั่งไกรสรสีหราช พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร)ตั้งอยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่งของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ เมืองลพบุรีสมเด็จพระนารายณ์ฯโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อทรงสำราญพระราชอริยาบถ บันทึกของชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ประพาสป่าล่าช้างบริเวณภูเขาทางทิศตะวันออก แล้วจะกลับเข้าเสด็จประทับ ณ พระที่นั่งองค์นี้ สร้างขึ้นในปีใดในรัชกาลของพระองค์ไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการที่พระองค์ได้ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากประเทศฝรั่งเศส ณ พระที่นั่ง ใน พ.ศ. 2228 จึงเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่าพระที่นั่งเย็นได้สร้างก่อน พ.ศ. 2228 องค์พระที่นั่งตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลชุบศร ซึ่งในสมัยโบราณเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีเขื่อนหินถือปูนล้อมรอบ สภาพปัจจุบันเหลือแต่ผนังเครื่องบนหักพังหมดแล้ว ลักษณะทางสถาปัตยกรรม คือ เป็นพระที่นั่งชั้นเดียว มีผนังเป็นทรงจตุรมุข ตรงมุขหน้าเป็นมุขเด็จยื่นออกมา และมีสีหบัญชรกลางมุขเด็จสำหรับสมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จออกซุ้มหน้าต่าง และซุ้มประตูทำเป็นซุ้มเรือนแก้ว เป็นแบบแผนที่นิยมทำกันมากในอาคารสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ในบริเวณพระที่นั่งเย็นมีอาคารเล็กๆ ก่อด้วยอิฐอื่นๆ อีก ซึ่งทำประตูหน้าต่างเป็นแบบโค้งแหลม ซึ่งเข้าใจว่าคงเป็นที่พักทหาร ด้านหน้าและด้านหลังพระที่นั่งมีเกยทรงม้าหรือช้างด้านละแห่ง
พระที่นั่งเย็นมีความสำคัญในฐานะที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ ใช้เป็นสถานที่สำรวจจันทรุปราคา เมื่อ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 และทอดพระเนตรสุริยุปราคา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2231ร่วมกับบาทหลวงเยซูอิต และบุคคลในคณะทูตชุดแรก ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศสส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี เหตุที่ได้ใช้พระที่นั่งเย็นเป็นที่สำรวจ จันทรุปราคา มีบันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่าเป็นที่เหมาะสมมองท้องฟ้าได้ทุกด้าน และมีพื้นที่กว้างมากพอสำหรับที่จะติดตั้งเครื่องมือ ยังมีภาพการสำรวจจันทรุปราคาที่พระที่นั่งเย็นซึ่งชาวฝรั่งเศสวาดไว้ เป็นรูปสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสวมลอมพอก ทรงกล้องส่องยาววางบนขาตั้ง ทอดพระเนตรดวงจันทร์จากสีหบัญชรของพระที่นั่งเย็น และตรงเฉลียงสองข้างสีหบัญชรด้านหนึ่งมีขุนนางหมอบกราบ อีกด้านหนึ่งมีนักดาราศาสตร์กำลังสังเกตการณ์โดยใช้กล้องส่อง จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ณ พระที่นั่งเย็น เมืองลพบุรีนี้เอง

ศาลพระกาฬ อยู่ใกล้สถานีรถไฟและทางด้านทิศตะวันออกพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงรียกกันมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า “ศาลสูง” ที่ทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ทำด้วยศิลาทราย 1 แผ่น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็ก ชั้นบน ณ ที่นี้ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ยืน ทำด้วยศิลา 2 องค์ องค์เล็กเป็นแบบเทวรูปเก่าในประเทศไทย องค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี แต่พระเศียรเดิมหายไป ภายหลังมีผู้นำพระเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยามาสวมต่อไว้เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ในบริเวณรอบศาลพระกาฬร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงจำนวนมาก ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลพบุรี มีร้านขายของที่ระลึกและอาหารสำหรับลิง ตลอดจนศาลาพักผ่อนมีถนนตัดรอบทำให้โบราณสถานมีลักษณะเป็นวงเวียน

พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟ ใกล้กับศาลพระกาฬ ตำบลท่าหิน มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลง หินทรายและตกแต่งลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม ตรงซุ้มประตูเดิมคงมีทับหลัง แต่ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน คือ เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปเขมรแบบบายน ปรางค์องค์กลางมีฐานแต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันทน์สีแดง ด้านหน้าทางทิศตะวันออกมีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 ปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ในองค์ปรางค์ทั้งสามปรางค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดเป็นวัดในพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรป ในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง

เทวสถานปรางค์แขก อยู่ใกล้กับนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐมี 3 องค์ แต่ไม่มีฉนวนเชื่อมต่อกันเหมือนปรางค์สามยอด นักโบราณคดีกำหนดว่า มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 เพราะมีลักษณะคล้ายกับปรางค์ศิลปะเขมรแบบพะโค (พ.ศ. 1425-1536) เป็นปรางค์แบบเก่า ซึ่งมีประตูทางเข้าแบบโค้งแหลม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้สร้างวิหารขึ้นด้านหลัง และถังเก็บน้ำ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของปรางค์

วัดมณีชลขัณฑ์ สร้างในสมัยรัชการที่ 4 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตลาดท่าโพธิ์ มีโบราณสถานที่น่าสนใจคือ พระเจดีย์รูปทรงแปลก คือก่อเป็นเหลี่ยมสูงชะลูดขึ้นไป เหลี่ยมคล้ายกับเจดีย์เหลี่ยมสมัยเชียงแสน (ล้านนา) แต่ตรงมุมมีการย่อมุมไม้สิบสอง ทำเป็นสามชั้น มีซุ้มประตูยอดแหลมอยู่ด้านข้างทั้งสี่ด้านทุกชั้น

วัดนครโกษา อยู่ทางตอนเหนือของสถานีรถไฟลพบุรีด้านทิศตะวันออกใกล้กับศาลพระกาฬ มีซากโบราณสถาน คือ เจดีย์องค์ใหญ่สมัยทวาราวดี พระปรางค์สมัยลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ 17 อยู่ด้านหน้า แต่พระพุทธรูปปูนปั้นแบบอู่ทองบนปรางค์นั้นสร้างขึ้นภายหลัง และยังพบเทวรูปขนาดใหญ่มีร่องรอยการดัดแปลงเป็นพระพุทธรูป 2 องค์ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เทวสถานแห่งนี้ภายหลังสร้างเป็นวัดขึ้นในสมัยอยุธยา ดังจะเห็นได้จากซากวิหารซึ่งเหลือแต่ผนัง และเสาอยู่ทางด้านหน้าและมีเป็นเจดีย์สูงก่อด้วยอิฐอยู่เบื้องหลัง คำว่า “วัดนครโกษา” มีผู้สันนิษฐานว่า เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นผู้บูรณะจึงเรียกว่า “วัดนครโกษาปาน” ตามราชทินนามนั่นเอง

วัดสันเปาโล ตั้งอยู่ถนนร่วมมิตร ทางเข้าวิทยาลัยนาฏศิลป์ลพบุรี เป็นวัดของพวกบาทหลวงเยซูอิต สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ปัจจุบันคงเหลือเพียงผนังด้านหนึ่งและหอดูดาว บริเวณโดยรอบมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น คำว่า “สันเปาโล” คงเพี้ยนมาจากคำว่าเซ็นตปอลหรือเซ็นทเปาโล ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “ตึกสันเปาหล่อ”

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดเก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดของลพบุรีตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟลพบุรี อยู่ถัดไปทางทิศตะวันออก ของพระปรางค์สามยอด วัดนี้มีมาตั้งแต่สมัยขอมมีอำนาจปกครองลพบุรีอยู่แต่ได้นับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์สืบต่อมา หลายยุคหลายสมัยทำให้ศิลปกรรมที่ปรากฏเหลืออยู่จึงแตกต่างกันมาก เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด จะพบศาลาเปลื้องเครื่องเป็นอันดับแรก ศาลากลางเปลื้องเครื่องนี้ใช้เป็นที่สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเปลื้องเครื่องทรงก่อนที่จะเข้าพิธีทางศาสนาในพระวิหารหรือพระอุโบสถ ศาสนาเปลื้องเครื่องตั้งอยู่หน้าวิหารคงเหลือเพียงเสาเอนเอียงอยู่เท่านั้น ส่วนอื่นปรักหักพังไปหมดแล้ว ถัดจากศาลาเปลื้องเรื่องเป็นวิหารหลวง ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก ประตูทำเป็นเหลี่ยมแบบไทย หน้าต่างเจาะช่องแบบโกธิคของฝรั่งเศส ภายในสร้างฐานชุกชีระดิษฐานพระพุทธรูปทางทิศใต้ของวิหารหลวงเป็นพระอุโบสถขนาดย่อม ประตูหน้าต่างเป็นแบบฝรั่งเศสทั้งหมด ห่างไปทางทิศตะวันตกของวิหารหลวงเป็นพระปรางค์องค์ใหญ่ที่สูงที่สุดในลพบุรี สร้างเป็นพุทธเจดีย์ องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงโบกปูน มีเครื่องประดับลวดลายเป็นพระพุทธรูปและพุทธประวัติ เดิมคงจะสร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจ แต่ได้รับการซ่อมแซมในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระนารายณ์ฯ ลวดลายจึงมีปะปนกันหลายสมัย ปรางค์องค์นี้เดิมบรรจุพระพุทธรูปไว้เป็นจำนวนมาก ที่ขึ้นชื่อคือ พระเครื่องสมัยลพบุรี เช่น พระหูยาน พระร่วง ซึ่งมีการขุดพบเป็นจำนวนมาก

วัดเสาธงทอง ตั้งอยู่บนถนนฝรั่งเศสซึ่งตัดเชื่อมระหว่างพระราชวังนารายณ์ฯ กับบ้านหลวงรับราชทูต เป็นวัดเก่าแก่เดิมแยกเป็น 2 วัด คือ วัดรวก และวัดเสาธงทอง พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้รายงานกราบทูลเสนอความเห็นต่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณาโรรส เมื่อคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลอยุธยาว่า วัดรวกมีโบสถ์ วัดเสาธงมีวิหาร สมควรจะรวมเป็นวัดเดียวกัน ทรงดำริเห็นชอบให้รวมกัน และให้เรียกชื่อว่า วัดเสาธงทอง วัดนี้มีโบราณสถานที่ควรชม คือ พระวิหารซึ่งแต่เดิมคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาอื่น เพราะจากแผนที่ของช่างชาวฝรั่งเศสทำไว้ ระบุว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่พำนักของชาวเปอร์เซีย พระวิหารหลังนี้อาจเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลามของชาวเปอร์เซียก็เป็นได้ นอกจากนั้นก็มีตึกปิจู ตึกคชสาร หรือตึกโคระส่าน เป็นตึกเก่าสันนิษฐานว่าใช้เป็นที่พำนักของแขกเมืองและราชทูตต่างประเทศชาวเปอร์เซีย

บ้านหลวงรับราชทูต หรือ บ้านหลวงวิชาเยนทร์ ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ ห่างจากปรางค์แขกประมาณ 300 เมตร ทางทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2228 ได้พัก ณ สถานที่แห่งนี้ จึงได้ชื่อว่า บ้านหลวงรับราชทูต และเนื่องจากสถานที่นี้เป็นที่พำนักของเจ้าพระยาวิชยาเยนทร์ ขุนนางสำคัญในสมัยนั้น ในภายหลังจึงได้ชื่อว่า “บ้านวิชาเยนทร์” อีกชื่อหนึ่ง พื้นที่ในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูตแบ่งออกเป็น 3 ส่วน สังเกตได้จากประตูเข้าด้านหน้า ซึ่งสร้างไว้สำหรับเป็นทางเข้าออกแต่ละส่วน คือ ส่วนทิศตะวันตก ส่วนกลาง และส่วนทางทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตก เป็นกลุ่มอาคาร ได้แก่ ตึก 2 ชั้นหลังใหญ่ก่อด้วยอิฐ และอาคารชั้นเดียว แคบยาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ส่วนกลาง มีอาคารที่สำคัญ คือ ฐานของสิ่งก่อสร้างซึ่งเข้าใจว่าเป็นหอระฆังและโบสถ์คริสตศาสนา ซึ่งอยู่ทางด้านหลังซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปจั่ว ส่วนทิศตะวันออก ได้แก่ กลุ่มอาคารใหญ่ 2 ชั้น มีบันไดขึ้นทางด้านหน้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ซุ้มประตูทางเข้ามีลักษณะเช่นเดียวกับทางทิศตะวันตก
ลักษณะของสถาปัตยกรรมในบ้านหลวงรับราชทูตบางหลัง เป็นแบบยุโรปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออก ก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตูแสดงให้เห็นลักษณะศิลปะตะวันตกแบบเรอเนสซองส์ ซึ่งเจริญแพร่หลายในระยะเวลาเดียวกัน และที่สำคัญอีก คือ อาคารที่เป็นโบสถ์คริสตศาสนาผังและแบบของโบสถ์เป็นแบบยุโรป มีซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้ว มีเสาปลายเป็นรูปกลีบบัวยาว ซึ่งเป็นศิลปะแห่งไทย โบสถ์เหล่านี้ถือกันว่าเป็นโบสถ์คริสตศาสนาหลังแรกในโลกที่ตกแต่งด้วยลักษณะของโบสถ์ทางพระพุทธศาสนา

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2290 เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ณ เมืองลพบุรี แบ่งเป็นเขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน กำแพงพระราชวังก่อด้วยอิฐถือปูน มีใบเสมาเรยงรายบนสันกำแพงมีซุ้มประตูทั้งหมด 11 ประตู ช่องประตูทางเข้าโค้งแหลม หลังตาประตูเป็นทรงจตุรมุข ตรงจั่วซุ้มประตูตกแต่งลายกระจังปูนปั้นที่วิวัฒนาการมาจากดอกบัว ที่ซุ้มประตูและกำแพงพระราชฐานชั้นกลางและชั้นในมีช่องเล็ก ๆ เจาะเป็นรูปโค้งแหลมคล้ายบัวเรียงเป็นแถวสำหรับวางตะเกียง ประมาณ 2,000 ช่อง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 ) โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ.2399 เพื่อให้เป็นราชธานีชั้นใน และพระราชทานชื่อว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” ซึ่งสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและในรัชสัมยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระที่นั่งและตึกซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งศิลปกรรมแบบไทยและฝรั่งเศสผสมกัน เดิมเป็นท้องพระโรงมียอดแหลมทรงมณฑป ตรงกลางท้องพระโรงมีสีหบัญชร เป็นที่เสด็จออกเพื่อทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้เข้าเฝ้า ฝาผนังประดับด้วยกระจกเงา ซึ่งนำมาจากประเทศฝรั่งเศส ประตูและหน้าต่างท้องพระโรงซึ่งอยู่ด้านหน้าทำเป็นโค้งแหลม ส่วนตัวมณฑปซึ่งอยู่ด้านหลังทำประตูหน้าต่างเป็นซุ้มแบบไทย คือ ซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ผนังด้านนอกพระที่นั่งตรงมณฑปชั้นล่างเจาะเป็นช่องโค้งแหลมไว้สำหรับวางตะเกียง ซึ่งจะเห็นได้อีกเป็นจำนวนมากตามซุ้มประตูและกำแพงของพระราชวัง สมเด็จพระนารายณ์เคยเสด็จออกรับคณะราชทูตฝรั่งเศส เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ ที่พระที่นั่งองค์นี้ในปี พ.ศ. 2228 ด้วย

พระที่นั่งจันทรพิศาล สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2208 เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ที่สร้างทับลงไปบนรากฐานเดิมของพระที่นั่งซึ่งพระราเมศวรโอสรองค์ใหย๋ของพระเจ้าอู่ทอง ได้ทรงสร้างเมื่อครั้งครองเมืองลพบุรี พระที่นั่งองค์นี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ด้านหน้ามีมุขเด็จ ภายหลังเมื่อได้สร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรค์ขึ้น สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงย้ายไปประทับที่พระที่นั่งองค์ใหม่ และโปรดให้ใช้พระที่นั่งจันทรพิศาลเป็นที่ออกขุนนาง ซึ่งตรงกับบันทึกของชาวฝรั่งเศสว่าเป็นหอประชุมองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงบูรณะพระที่นั่งองค์นี้ตามแบบของเดิม ปัจจุบันใช้จัดแสดงเรื่องราวพระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและงานประณีตศิลป์สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์

พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์สมเด็จพระนารายณ์ฯ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานที่ร่มรื่น ทรงปลูกพรรณไม้ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง หลังคาพระที่นั่งมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ที่มุมทั้งสี่ มีสระน้ำใหญ่สี่สระ เป็นที่สรงสนานของพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ใน พ.ศ.2231

ตึกพระเจ้าเหา ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของเขตพระราชฐานชั้นนอก ตึกหลังนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้อย่างชัดเจนมาก เป็นตึกที่สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ยกพื้นสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ตัวตึกเป็นรูปทรงไทย ฐานก่อด้วยศิลาแสง และจึงก่ออิฐขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเหลือแต่ผนังประตูหน้าต่าง ทำเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ปัจจุบันคงปรากฏลายให้เห็นอยู่ ด้วยเหตุว่าภายในตึกมีฐานชุกชีปรากฏให้เห็นอยู่และชาวฝรั่งเศสได้ระบุว่าเป็นวัด จึงสันนิษฐานว่าเป็นหอพระประจำพระราชวัง ตึกพระเจ้าเหาหรือ “พระเจ้าหาว” (หาว=ท้องฟ้า-ภาษาไทยโบราณ) ในตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเทพราชา และขุนหลวงสรศักดิ์ใช้ตึกพระเจ้าเหาเป็นที่นัดแนะประชุมขุนนางและทหารเพื่อแย่งชิงราชสมบัติขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระประชวรหนัก

ตึกรับรองคณะทูตต่างประเทศ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า ตึกหลังนี้อยู่กลางอุทยาน ซึ่งแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบตึกมีคูน้ำล้อมรอบ ภายในคูน้ำมีน้ำพุเรียงรายได้ระยะยาว 20 แห่ง สมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้พระราชทานเลี้ยงแก่คณะทูตจากประเทศฝรั่งเศส ณ สถานที่นี้ใน พ.ศ. 2228 และ พ.ศ. 2230

พระคลังศุภรัตน์ หมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง เป็นหมู่ตึกตั้งอยู่ระหว่างถังเก็บน้ำประปาและตึกซึ่งใช้เป็นสถานที่ พระราชทานเลี้ยงชาวต่างประเทศ สร้างขึ้นอย่างมีระเบียบด้วยอิฐเป็น 2 แถวยาวเรียงชิดติดกัน อาคารมีลักษณะค่อนข้างทึบ มีถนนผ่ากลาง มีจำนวนรวม 12 หลัง เข้าใจว่าเป็นคลังเพื่อเก็บสินค้า หรือเก็บสิ่งของเพื่อใช้ในราชการ

อ่างซับเหล็ก หรืออ่างซับเหล็กหรือถังเก็บน้ำ อยู่ในเขตตำบลนิคมสร้างตนเองห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 16 กิโลเมตร อ่างซับเหล็กเป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติที่มีมาแต่โบราณ ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงโปรดให้ช่างชาวฝรั่งเศสและชาวอิตาเลียนเป็นผู้วางท่อส่งน้ำจากอ่างซับเหล็กนำมาใช้ในเขตพระราชฐาน อ่างซับเหล็กมีเนื้อที่ประมาณ 1,760 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2497 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้สร้างเขื่อนดินกั้นน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 จังหวัดลพบุรีได้ปรับปรุงอ่างซับเหล็กให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยทำถนนรอบอ่างเก็บน้ำ ปลูกต้นไม้และสร้างศาลาพักร้อน

โรงช้างหลวง ตั้งเรียงรายเป็นแถวชิดริมกำแพงเขตพระราชฐานชั้นนอกด้านในสุด โรงช้างส่วนใหญ่ปรักหักพังเหลือแต่ฐานปรากฎให้เห็นประมาณ 10 โรง ช้างซึ่งยืนโรงในพระราชวัง คงเป็นช้างหลวงหรือช้างสำคัญ สำหรับใช้เป็นพาหนะของสมเด็จพระนารายณ์ฯ เจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่


พระที่นั่งและตึกซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างหมู่พระที่นั่งองค์นี้ขึ้นใน พ.ศ. 2405 ประกอบด้วยพระที่นั่งต่างๆ คือ มุขด้านซ้ายมือ พระที่นั่งอักษรศาสตราคมเป็นที่ทรงพระอักษร มุขด้านขวามือคือพระที่นั่งไชยศาสตรากร เป็นที่เก็บอาวุธ พระที่นั่งองค์ขวางตรงกลาง คือพระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย ใช้เป็นท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการ ด้านหลังสุดเป็นอาคารสูง 3 ชั้น คือ พระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์

หมู่ตึกพระประเทียบ ตั้งอยู่บริเวณหลังพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานฝ่ายใน ก่อด้วยอิฐถือปูนสูง 2 ชั้น เรียงรายอยู่ 8 หลัง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายใน

ทิมดาบหรือที่พักของทหารรักษาการณ์ เมื่อเดิน ผ่านประตูทางเข้าเขตพระราชฐานชั้นกลาง ข้างประตูทั้งสองด้านตรงบริเวณสนามหญ้าจะแลเห็น ศาลาโถงข้างละหลัง นั่นคือตึกซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พักของทหารรักษาการณ์ในเขตพระราชวัง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งที่ 3 ที่ได้ตั้งขึ้นในประเทศไทย แห่งแรกนั้นคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร แห่งที่ 2 คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 3 คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ฯ ลพบุรี ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2466 อาคารจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ฯ จัดแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ ดังนี้
ห้องพระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นลักษณะสถาปัตย กรรมแบบทรงไทย จัดแสดงเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และพระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ห้องหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมผสมแบบตะวันตก จัดแสดงเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงหลักฐานโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณภาคกลางของประเทศไทยและแหล่งโบราณคดี จังหวัดลพบุรี โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เตาดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากโลหะ ภาชนะสำริด เครื่องประดับทำจากหินและเปลือกหอย เป็นต้น
ห้องภาคกลางประเทศไทย พ.ศ.800-1500 รับอิทธิพลวัฒนธรรมของอินเดียที่เรียกว่า สมัยทวารวดี จัดแสดงเรื่องการเมือง การตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยีและการดำเนินชีวิต อักษร ภาษา ศาสนสถาน ศาสนาและความเชื่อถือ หลักฐานที่พบได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผา เหรียญตราประทับดินเผา จารึกภาษาบาลี สันสกฤต และรูปเคารพต่าง ๆ ห้องอิทธิพลศิลปะเขมร - ลพบุรี ที่พบในภาคกลางของประเทศไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 18 จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีสมัยชนชาติขอมแผ่อิทธิพลเข้าปกครองเมืองลพบุรี และบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ ทับหลัง พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปปางประทางอภัย เป็นต้น
ห้องประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 - 18 ศิลปกรรมที่พบตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้แก่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพิมพ์ และพระพุทธรูปสำริดสมัยต่าง ๆ
ห้องประวัติศาสตร์ศิลปกรรมสมัยอยุธยา - รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 -24 ได้แก่ พระพุทธรูป เครื่องถ้วย เงินตรา อาวุธ เครื่องเงิน เครื่องทอง และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมปูนปั้น และไม้แก่สลักต่าง ๆ
ห้องศิลปะร่วมสมัย จัดแสดงภาพเขียนและภาพพิมพ์ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทย ห้องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและพระราชประวัติของสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ซึ่งโปรดฯ ให้และสร้างพระราชวัง ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ.2399 ได้แก่ ภาพพระสาทิสลักษณ์ ฉลองพระองค์ เครื่องใช้ แท่นบรรทม เหรียญทอง และจานชามมีสัญลักษณ์มีรูปมงกุฎตราประจำพระองค์ เป็นต้น
ห้องหมู่ตึกพระประเทียบ เป็นอาคารลักษณะสถาปัตยกรรมผสมแบบตะวันตก จัดแสดงเรื่องชีวิตไทยภาคกลาง การดำรงชีวิต ที่อยู่อาศัย เครื่องมือ เครื่องใช้ประกอบอาชีพประมง การเกษตร และศิลปหัตกรรมพื้นบ้านของคนไทยในภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดลพบุรีที่ใช้ในอดีตจรถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ยังมีการจัดนิทรรศการเกี่ยงกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมให้ชมกันเป็นครั้งคราว

การเข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.30 น. หยุดวันจันทร์ - วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ การเข้าชมผู้เข้าชมจะต้องเสียค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สำหรับนักเรียน นักศึกษาและพระภิกษุ สามเณรไม่ต้องเสียค่าเข้าชม ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ถนนสรศักดิ์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 15000 โทร. (036) 411458

หมู่บ้านดินสอพอง ทำดินสอพอง อยู่ที่บ้านหินสองก้อน ตำบลถนนใหญ่ ใช้เส้นทางไปอำเภอบ้านหมี่ ข้ามสะพาน 6 แล้วเลี้ยวซ้ายเลียบคลองชลประทาน เป็นหมู่บ้านที่มีการทำดินสอพองกันแทบทุกครัวเรือน และบริเวณนั้นจะมีดินสีขาว เรียกว่า “ดินมาร์ล” ซึ่งเป็นดินที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการทำดินสอพอง

วัดยาง ณ รังสี และพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำบลตะลุง อำเภอเมืองลพบุรี ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีด้านตะวันตก ด้านหน้าติดทางหลวงสายลพบุรี - บางปะหัน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 9 กิโลเมตร เดิมเรียกว่า วัดพญายาง เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีต้นยางยักษ์ใหญ่ตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ท่ามกลางดงต้นยาง สันนิษฐานกันว่าเดิมเป็นวัดโบราณอยู่กลางป่า น่าจะมีอายุตั้งแต่สมัยละโว้ เพราะมีประติมากรรมหินทรายประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถของวัด คือ พระพุทธรูปปางนาคปรก 2 องค์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย 1 องค์ และพระพุทธรูปปางสมาธิ 1 องค์ เป็นเนื้อหินทรายและหินหนุมาน (หินสีเขียว) รูปทรงเป็นแบบสมัยของเรืองอำนาจ ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่และเปลี่ยนชื่อใหม่ถึง 2 ครั้ง เดิมเป็นวัดยางศรีสุธรรมาราม แล้วเปลี่ยนเป็นวัดยาง ณ รังสี จนถึงปัจจุบัน

พิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน ตั้งอยู่ที่ศาลากลางเปรียญไม้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2470 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี เป็นสถาปัตยกรรมแบบศาลาวัดในชนบทของภาคกลางในประเทศไทย ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยาก ต่อมาได้มีการบูรณะซ่อมแซมแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2531 โครงการพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านจึงได้เกิดขึ้น และนับเป็นพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านแห่งแรกของประเทศไทย

วัดตองปุ หลังโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ตำบลทะเลชุบศร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง ในอดีตเคยเป็นที่ชุมนุมกองทัพไทย ในวัดตองปุนี้มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น พระอุโบสถ วิหาร หอไตร คลัง และหอระฆัง ล้วนเป็นสถาปัตยกรรมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ภายในพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนรอบทั้งสี่ด้านล้วนเป็นภาพที่หาดูได้ยาก นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ลักษณะคล้ายกับเจดีย์หลวงพ่อแสง วัดมณีชลขัณฑ์แต่มีขนาดเล็กกว่า และสัดส่วนงดงาม

วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร วัดเขาพระงาม ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศเหนือตามถนนพหลโยธินไปประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลเขาพระงาม วัดเขาพระงามนี้เดิมเป็นวัดร้าง สร้างมาแต่เมื่อใดไม่มีปรากฏ ต่อมาในปี พ.ศ.2455 พระอุมาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ กับพระสงฆ์อีกรูปได้ธุดงค์มาพักที่วัดนี้ เห็นว่ามีภูมิประเทศดี จึงได้สร้างพระพุทธรูปที่มีหน้าตักกว้าง 11 วา สูงจากหน้าตักถึงยอดพระเศียร 18 วา เส้นพระศกทำด้วยไหกระเทียม เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายพระนามว่า พระพุทธนฤมิตรมัธยมพุทธกาล ครั้นภายหลังซ่อมเมื่อปี พ.ศ.2469 จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่า “พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล” บริเวณวัดมีกิจกรรมที่กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไปคือ การขายพลอยสีต่าง ๆ ที่เจียรไนจากหินควอท์ซึ่งขุดได้จากบริเวณเขาพระงาม เรียกว่า “เพชรพระงาม” ราคาพอสมควรที่นักท่องเที่ยวทุกระดับจะซื้อเป็นของที่ระลึกได้ ปัจจุบันมีแผงขายเพชรพระงามตั้งอยู่บริเวณลานหน้าวัด

วัดเวฬุวัน วัดเขาจีนแล อยู่ในหุบเขาจีนแล ตำบลนิคมสร้างตนเอง อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีประมาณ 18 กิโลเมตร ทางเข้าเป็นถนนราดยางสภาพดี เดิมบริเวณที่ตั้งวัดนี้เป็นป่าทึบเต็มไปด้วยต้นไผ่ พระครูอุบาลี ธรรมมาจารย์ (หลวงพ่อลี) ได้ธุดงค์มาถึงที่นี่เห็นภูมิประเทศเหมาะสมจึงได้ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น วัดเขาจีนแลเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ สถานที่ร่มรื่น มีภูเขาล้อมรอบสี่ด้าน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ พระพุทธรูปใหญ่ที่หลวงพ่อลีสร้าง และพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ปัจจุบันทรงสร้างประดิษฐานอยู่บนยอดเขา มีโบสถ์รูปทรงแปลก จั่วเป็นซุ้มกุทุแบบอินเดีย รวมถึงหอสมุดและสำนักชี

วัดสุวรรณคีรีปิฎก วัดเขาตะกร้า ตั้งอยู่เลยอ่างซับเหล็กเข้าไปมีถนนโรยกรวดเข้าไปถึงวัด ใกล้กับวัดเวฬุวัน ตำบลนิคมสร้างตนเอง สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 โดยหลวงพ่อบุญเหลือ ปภาโส เป็นวัดที่สร้างกุฏิและวิหารเกาะกับภูเขา มีเจดีย์สร้างใหม่องค์หนึ่งลักษณะงดงามดี วัดนี้ชาวไทยเชื้อสายจีนนิยมไปสักการะศพหลวงพ่อบุญเหลือ ซึ่งมรณภาพไปตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เก็บไว้ในหีบแก้วแต่ไม่เน่าเปื่อยเพียงแต่แห้งไป

บ้านท่ากระยาง หล่อรูปโลหะและดินสอพอง อยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี หลังวัดตองปุ เดิมเป็นหมู่บ้านช่างหล่อ มีอาชีพหล่อพระพุทธรูปด้วยโลหะ ต่อมาเริ่มหล่อรูปโลหะอื่นๆ เป็นประเภท ของที่ระลึกและเลียนแบบของเก่าด้วย เช่น รูปสัตว์ประจำปีนักษัตริย์ รูปหนุมาน เทวรูปพระกาฬ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการทำดินสอพองเม็ดเล็กแบบเก่าอีกด้วย

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ภายในบริเวณสถาบันราชภัฏเทพสตรีลพบุรี มีหน้าที่ทะนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดศูนย์วัฒนธรรมนี้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2524 ภายในหอวัฒนธรรมได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับจังหวัดลพบุรีหลายด้าน เช่น แผนที่จังหวัด ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน แผนที่ทางภาษา นอกจากนั้นยังเก็บรวบรวมและจัดแสดงเอกสารโบราณที่พบในจังหวัดอีกด้วย


สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอบ้านหมี่

วัดเขาวงกต ตั้งอยู่ที่เชิงเขาสนามแจง ตำบลสนามแจง ห่างจากตัวอำเภอบ้านหมี่ ประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่อยู่ในวงล้อมของภูเขาสามด้าน บริเวณกว้างขวางถึง 30 ไร่ บนไหล่เขาด้านทิศตะวันตกมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ ถัดลงมามีศาลาเก็บศพหลวงพ่อเจริญ ดิสสวัณโณ อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งมรณภาพไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2506 แต่ศพไม่เน่าเปื่อย หน้าวัดมีเจดีย์สร้างอยู่บนเรือสำเภา อนุสรณ์ของหลวงพ่อเภาผู้สร้างวัดนี้ สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ถ้ำค้างคาว ซึ่งอยู่บนไหล่เขาเหนือพระอุโบสถ นับว่าเป็นถ้ำค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลพบุรี ภายในถ้ำมีค้างคาวนับล้านๆ ตัว รายได้จากค่ามูลค้างคาวที่เข้าวัดแต่ละปีเป็นเงินหลายหมื่นบาท ทุกวันตั้งแต่เวลาประมาณ 18.30 น. ค้างคาวจะพากันบินออกจากปากถ้ำไปหากิน ยาวเป็นสายคล้ายควันไฟ การบินออกหากินนี้จะติดต่อกันไปไม่หยุดจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 22.00 น. และจะเริ่มกลับเข้าถ้ำตั้งแต่เวลาประมาณ 03.00 น. จนถึงประมาณ 06.00 น. จึงจะหมด

วัดธรรมิการาม หรือวัดค้างคาว ตั้งอยู่ริมลำน้ำบาง ฝั่งตะวันตก ตำบลบางขาม เหตุที่ชื่อวัดค้างคาวเพราะว่าเดิมมีค้างคาวอาศัยอยู่มาก ปัจจุบันไม่มีแล้วและได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดธรรมิการาม” เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมฝั่งคลองในหมู่ไม้ร่มรื่น สามารถเข้าได้ 2 ทาง ทางรถเข้าได้จากบริเวณใกล้ทางเข้าวัดไลย์ (อำเภอท่าวุ้ง) ทางเท้าเข้าผ่านหมู่บ้านเดินข้ามสะพานไม้เข้าไป ซึ่งบรรยากาศดีมาก ในวัดมีวิหารเก่า มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้าน ศาลาการเปรียญและศาลาท่าน้ำมีลวดลายฉลุไม้ประดับและสิ่งที่น่าชมของวัดนี้คือ มีภาพเขียนที่ผนังโบสถ์ ซึ่งเป็นภาพเขียนเรื่องพุทธประวัติทั้ง 4 ด้าน ลักษณะของภาพเขียนมีลักษณะแบบตะวันตกเข้ามาปนบ้างแล้ว เช่นการแรเงาต้นไม้ และอื่นๆ เป็นภาพเขียนในสมัยรัชกาลที่ 4 ฝีมือช่างพื้นบ้าน แต่งามกว่าที่วิหาร

วัดกัทลีพนาราม หรือวัดบ้านกล้วย อยู่ห่างจากตลาดบ้านหมี่ ตามถนนสายบ้านหมี่โคกสำโรง ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ เดิมชื่อว่า “วัดบ้านกล้วย” ต่อมาวัดนี้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดกัทลีพนาราม” สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้ คือ มีพระอุโบสถขนาดใหญ่แบบจตุรมุขที่สวยงาม เป็นวัดสำคัญของชุมชนชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ นอกจากโบสถ์ทรงจตุรมุขซึ่งสร้างใหม่แล้ว ยังมีวิหารเก่าแก่หลังเล็กและเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง รูปทรงงดงามทั้งสองสิ่ง ศาลาการเปรียญมีลวดลายฉลุไม้ตกแต่งสวยงาม ภายในมีธรรมาสน์เก่าและประดับเครื่องแทนเป็นพุทธบูชาแบบของชาวไทยพวน คือ “ธงแว่น” หลายพวง

วัดเชียงงา ตั้งอยู่เหนือตัวตลาดบ้านหมี่ขึ้นไปเล็กน้อย ตำบลเชียงงา อำเภอบ้านหมี่ วัดนี้คาดว่าคงจะสร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งที่ชาวพวนได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งที่ตำบลนี้ สถานที่น่าสนใจของวัดนี้คือเจดีย์เก่าองค์หนึ่ง ซึ่งลักษณะคล้ายกับเจดีย์ทางภาคเหนือของไทย คือ มีฐานย่อมุมซ้อนหลายชั้น องค์ระฆังเล็กสั้นแจ้ มีลวดลายรัดอกรอบองค์ระฆัง ไม่มีบัลลังก์ ปลียอดรูปดอกบัวทรงผอมสูง บนยอดสุดปักฉัตรโลหะปิดทองฉลุลาย เจดีย์ทรงมอญทั่วไป ฐานจะแผ่กว้างทรงแจ้ แต่เจดีย์ที่วัดเชียงงานี้ทรงชะลูดสูง ดูแปลกตา

บ้านกล้วย (ทอผ้ามัดหมี่) ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ ห่างจากตลาดบ้านหมี่เข้าไปตามถนนสายบ้านหมี่-โคกสำโรง ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นชุมชนชาวไทยพวน ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 135 ปีมาแล้ว บ้านกล้วยเป็นหมู่บ้านธรรมดา แต่ตามครัวเรือนแต่ละหลังโดยเฉพาะหมู่ที่ 1 จะมีการทอผ้ามัดหมี่กันเป็นจำนวนมาก ผ้ามัดหมี่ของบ้านกล้วยทอด้วยฝ้ายและมีลวดลายละเอียดงดงามต่างกับมัดหมี่ของอิสานที่มัดหมี่ฝ้าย จะทำลวดลายใหญ่ๆ ห่างๆ นอกจากผ้ามัดหมี่แล้วยังมีการทอผ้าขาวม้าคุณภาพดี ที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของบ้านหมี่ คือ ลายไส้ปลาไหล นอกจากนั้นถัดไปที่หมู่บ้านชาวพวน ตำบลบางพึ่งยังมีการทอผ้าขิดอีกด้วย

ตัวอำเภอบ้านหมี่ เจียระไนพลอย อยู่ห่างจากอำเภอเมืองลพบุรีไปประมาณ 28 กิโลเมตร คำว่า “หมี่” หมายถึงการมัดเส้นไหมเป็นเปลาะเพื่อย้อมสี ในเปลาะหนึ่งๆ ให้หลากสีกัน เพราะราษฎรในหมู่บ้านละแวกนั้นถนัดในการทอผ้าชนิดนี้ คือผ้ามัดหมี่ คนส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านหมี่เป็นไทยพวนที่อพยพมาจากหัวพันทั้งห้าทั้งหกในประเทศลาวเมื่อประมาณ 135 ปีมาแล้ว ได้นำเอาชื่อบ้านเดิมคือ “บ้านหมี่” มาใช้เป็นชื่อบ้านที่ตั้งหลักแหล่งใหม่นี้ด้วย

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอโคกสำโรง

เขาวงพระจันทร์ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองลพบุรีไปประมาณ 28 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนพหลโยธิน ตรงหลักกิโลเมตรที่ 178 มีทางแยกเลี้ยวขวาอีก 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง บริเวณเชิงเขาจะเป็นที่ตั้งของวัดเขาวงพระจันทร์ จะมีทางบันไดขึ้นไปสู่ยอดเขาประมาณ 3,890 ชั้น ยอดเขานี้สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 650 เมตร ถ้าวัดจากเชิงเขาถึงยอดเขาโดยแนวบันไดจะยาว 1,680 เมตร ใช้เวลาเดินทางจากเชิงเขาถึงยอดเขาประมาณ 2 ชั่วโมง สองข้างทางจะเต็มไปด้วยป่าไม้ขึ้นสลับซับซ้อนเต็มไปหมด บางแห่งจะเป็นที่ลาด บางแห่งจะเป็นที่ชัน เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาวงพระจันทร์จะมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกลสุดสายตา ในหน้าเทศกาลเดือนสาม ประชาชนโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งใกล้และไกล จะหลั่งไหลกันมานมัสการรอยพระพุทธบาทและพระพุทธรูปบนยอดเขาแห่งนี้อย่างเนืองแน่นเป็นประจำทุกปี สิ่งก่อสร้างและรูปแบบของการแสดงความเคารพที่วัดนี้จึงค่อนข้างจะมีอิทธิพลจีนหรือฝ่ายมหายานอยู่มาก เขาวงพระจันทร์ได้ชื่อว่าเป็นเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดลพบุรี และเป็นภูเขาที่สร้างชื่อเสียงให้ผู้คนรู้จักเมืองลพบุรีมาช้านานแล้ว นอกจากนั้นภูเขานี้ยังเป็นที่มาแห่งตำนานเมืองเรื่อง ท้าวกกขนาก และเรื่องพระเจ้ากงจีน อีกด้วย

บ้านหนองแล้ง แกะสลักหินทราย อยู่หมู่ที่ 8 บ้านหนองแล้ง อยู่ริมถนนในตัวอำเภอโคกสำโรง มีอาชีพในการแกะสลักหินทรายเป็นรูปต่างๆ เลียนแบบของเก่า เช่น ศิวลึงค์ ธรรมจักรกวางหมอบศิลปะทวารวดี เทวรูปสุริยเทพศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปศิลปะลพบุรี รูปสัตว์ต่างๆ ฯลฯ มีฝีมือดี มักนำส่งร้านขายของเก่าที่กรุงเทพฯ และพระนครศรี อยุธยา ของที่แกะสลักล้วนเป็นขนาดใหญ่เท่าของจริง

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอชัยบาดาล

วัดเขาสมโภชน์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล ไปตามเส้นทางสายบัวชุม ประมาณ 30 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปประมาณ 8 กิโลเมตรจากถนนใหญ่ เขาสมโภชน์เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ รอบๆ บริเวณร่มรื่นไปด้วยต้นไม้นานาชนิด ที่เชิงเขาเป็นที่ตั้งของวัดสำหรับปฏิบัติธรรม ภูเขาแห่งนี้เต็มไปด้วยถ้ำต่างๆ ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 19 ถ้ำ เฉพาะถ้ำที่ปรากฏชื่อมีดังนี้คือ ถ้ำใหญ่ ถ้ำเจดีย์ ถ้ำเพชร ถ้ำรำวง ถ้ำสิงโต ถ้ำบ่อทิพย์ ฯลฯ ภายในแต่ละถ้ำจะแลเห็นหินงอกหินย้อยตามหลีบซอกเขาที่สวยงาม

สวนรุกขชาติน้ำตกวังก้านเหลือง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าดินดำ การเดินทางจากตัวเมืองลพบุรีไปน้ำตกวังก้านเหลือง ใช้เส้นทางลพบุรี - โคกสำโรง (ทางหลวงหมายเลข 1 ) จากนั้นใช้เส้นทางโคกสำโรง - ชัยบาดาล (ทางหลวงหมายเลข 5 ) จนถึงทางหลวงหมายเลข 21 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 21 ประมาณ 21 กิโลเมตร เลี้ยวขวาผ่านสถานีขนส่งถึงสี่แยกลำนารายณ์และตรงไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จนถึงสี่แยกท่ามะนาวแล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2089 ตรงไปอีกประมาณ 13 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกวังก้านเหลืองซึ่งจะอยู่ทางขวามือ

บ้านท่าดินดำ ทอเสื่อ อยู่ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล ใกล้น้ำตกวังก้านเหลืองประมาณ 3 กิโลเมตร จากถนนใหญ่ เป็นหมู่บ้านพัฒนาแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพในการทำไร่ข้าวโพด และมีอาชีพรองในการทอเสื่อ ปลูกกระเทียมพันธุ์ดีและเลี้ยงโคนม

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอลำสนธิ

ปรางค์นางผมหอม อยู่ห่างจากตลาดหนองรีประมาณ 2 กิโลเมตร ในเขตบ้านโคกคลี ตำบลหนองรี ลักษณะของปรางค์นางผมหอมนี้ เป็นปรางค์องค์เดียวโดดๆ ก่อด้วยอิฐไม่ถือปูน เช่นเดียวกับเทวสถานปรางค์แขก สภาพปัจจุบันยอดหักลงมาหมดแล้ว มีประตูเข้าภายในปรางค์ได้ ภายในปรางค์เป็นห้องโถง กรอบประตูสร้างด้วยแท่งหิน รอบๆ ปรางค์ยังมีหินก้อนใหญ่อยู่เกลื่อนกลาด ห่างจากปรางค์นางผมหอมไม่มากนักเป็นด่านกักสัตว์บ้านโคกคลี เป็นเนินดินมีซากอิฐ เข้าใจว่าเป็นฐานวิหาร หรือเจดีย์ ชาวบ้านเรียกโคกคลีน้อย ยังมีเนินกว้างอีกแห่งหนึ่งเรียกโคกคลีใหญ่ ที่ตั้งของปรางค์นางผมหอมมีแม่น้ำมาบรรจบกันสองสาย คือ ลำสนธิกับลำพระยากลาง สันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้แต่เดิมเป็นเมืองโบราณ

น้ำตกวังแสนดี ตั้งอยู่ใกล้ปรางค์นางผมหอม ตำบลหนอง ห่างจากที่ว่าการกิ่งอำเภอลำสนธิไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร น้ำตกแห่งนี้เป็นแก่งหินกั้นลำน้ำพญากลางทำให้เกิดเป็นน้ำตกขนาดเล็กมีต้นไม้ขนาดกลางทั้งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และปลูกเพิ่มเติมให้ความร่มรื่น

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอท่าวุ้ง

วัดไลย์ อยู่ริมน้ำบางขาม ในเขตตำบลเขาสมอคอน ไปตามเส้นทางถนนสายลพบุรี-สิงห์บุรี ประมาณกิโลเมตรที่ 18 มรถนนแยกขวาเข้าวัด ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยเสด็จไปวัดนี้ และทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์เรื่องเที่ยวตามทางรถไฟไว้ว่า “วัดไลย์อยู่ริมน้ำบางขาม พ้นเขาสมอคอนไปทางตะวันตกไม่ห่างนัก เป็นวัดเก่าชั้นแรกตั้งกรุงศรีอยุธยา แล้วปฏิสังขรณ์เมื่อรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ยังมีลายภาพของเก่าปั้นเรื่องทศชาติ และเรืองปฐมสมฌโพธิงามน่าดูนัก ที่วัดไลย์นี้มีรูปพระศรีอาริย์เป็นของสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งผู้คนนับถือกันมาแต่โบราณ เมื่อรัชกาลที่ 5 ไฟป่าไม้วิหารรูปพระศรีอาริย์ชำรุดไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อัญเชิญลงมาปฏิสังขรณ์ในกรุงเทพฯ แล้วคืนกลับไปประดิษฐานอย่างเดิม ถึงเทศกาลราษฎรยังเชิญออกแห่เป็นประเพณีเมืองมาทุกปีมิได้ขาด” ปัจจุบันทางวัดได้ก่อสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระศรีอาริย์ขึ้นใหม่ ด้านหน้าเป็นรูปมณฑลจตุรมุขแลดูสง่างามมาก นอกจากนี้แล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น พระวิหาร ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบอย่างอยุธยาตอนต้น คือ มีลักษณะเจาะช่องผนังแทนหน้าต่าง ๆ ภายในมีพระประธานขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง มีซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหารมีภาพปูนปั้นเรื่องทศชาติ และเรืองปฐมสมโพธิ์ ซึ่งนับว่าเป็นภาพประติมากรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่มีคว่มสำคัญยิ่งชิ้นหนึ่งของชาติ นอกจากยังมีพระอุโบสถ และวิหารรูปมณฑปยอดปรางค์อยู่ใกล้ ๆ กับพระวิหารและพิพิธภัณฑ์ประจำวัดซึ่งมีของเก่ามากมายให้ชม เช่น พระพุทธรูป เครื่องหมาย เครื่องลายคราม เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยโบราณ และอื่น ๆ อีกมากมาย

เขาสมอคอน อยู่ในเขตตำบลเขาสมอคอน ไปตามเส้นทางสายลพบุรี - สิงห์บุรี ถึงกิโลเมตรที่ 18 เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 12 กิโลเมตร เป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ มีตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับเขาสมอคอนอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจจากหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวไว้ว่า “เขาสมอคอนนี้เป็นที่อยู่ของ สุกกทันตฤาษี อาจารย์ของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชและ พระยางำเมือง กษัตริย์เมืองพะเยา ซึ่งน่าจะเป็นราชวงศ์หนองแส โยนก เชียงแสน ทั้งสองพระองค์ เพระเมื่อทรงพระเยาว์ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาที่เขาสมอคอนนี้ ซึ่งสมัยนั้นกษัตริย์เมืองลพบุรีก็เป็นราชวงศ์เดียวกัน” วัดที่สำคัญบนเทือกเขานี้มี 4 วัดด้วยกัน คือ วัดบันไดสามเสน วัดถ้ำตะโก วัดช้างเผือก และวัดเขาสมอคอน นอกจากนี้ยังมีวัดที่สำคัญบนเทือกเขาแห่งนี้ ได้แก่
วัดบันไดสามเสน วัดนี้ตั้งอยู่บนเชิงเขาสมอคอน มีทัศนียภาพที่สวยงามจะมองเห็นพระอุโบสถได้แต่ไกล และบนยอดเขาจะมีมณฑป ภายในมณฑปจะมีพระพุทธรูปประดิษฐาน อยู่เพื่อให้ผู้ที่แวะมาชมได้นมัสการ นอกจากนี้ยังมีถ้ำอีก 2 แห่ง คือถ้ำ วิหาร และถ้ำแสนสุข
วัดถ้ำตะโก หรือวัดถ้ำตะโกพุทธโสภา อยู่ถัดจากวัดบันไดสามแสนไปตามเทือกเขาสมอคอนด้านทิศตะวันออก ประมาณ 1 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนเชิงเขา รอบ ๆ บริเวณวัดมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมไปทั่ว มีความร่มรื่น ที่วัดนี้มีถ้ำวิปัสสนา เรียกว่า “ถ้ำตะโก” เนื่องจากมีต้นตะโกอยู่หน้าถ้ำ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ภายในถ้ำจะมีแท่นที่หลวงพ่อเภา พระเกจิอาจารย์อันเป็นที่เคารพนับถือของชาวลพบุรี เคยนั่งวิปัสสนาและมีพระพุทธรูปอีกหลายองค์ นอกจากนั้นก็มีเครื่องปั้นดินเผา เครื่องลายครามต่างๆ เก็บรักษาไว้ และยังมีพระเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่บนเรือสำเภา ซึ่งเรียกว่า “พระเจดีย์ทรงเรือมรรคสัจจ์” อยู่บนยอดเขา คล้ายกับที่วัดเขาวงกตแต่ที่นี่สร้างก่อน
วัดถ้ำช้างเผือก อยู่ห่างจากวัดถ้ำตะโกไปประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อเข้าสู่บริเวณวัดจะแลเห็นรูปช้างเผือกขนาดใหญ่ เท่าช้างจริงสีขาวปรากฏเด่นอยู่บนยอดเขา วัดนี้มีพุทธเจดีย์ ซึ่งสร้างไว้บนยอดเขาอีกยอดหนึ่ง รอบพุทธเจดีย์มีระเบียงกว้าง สามารถเดินชมทิวทัศน์เบื้องล่างได้ ถัดจากพระพุทธเจดีย์ลงมา คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่นำมาจากพุทธคยา สำหรับถ้ำที่น่าชมของวัดนี้ คือ ถ้ำช้างเผือก ซึ่งเชื่อกันว่าวันดีคืนดีจะมีช้างเผือกออกมาจากถ้ำนี้ ซึ่งคนมีบุญเท่านั้นจึงจะแลเห็น
วัดเขาสมอคอน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสมอคอน ส่วนวัดอื่นๆ อีก 3 วัด อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดนี้ วัดเขาสมอคอนถือว่าเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง เพราะจะสังเกตเห็นว่ามีซากกองอิฐเก่าๆ อยู่มากมาย โบราณสถานของวัดนี้ ได้แก่ เจดีย์ทรงลังกาตั้งอยู่บนยอดเขา เหนือถ้ำพระนอนขึ้นไป บริเวณวัดเขาสมอคอนจะมีถ้ำต่างๆ อยู่มากมาย เช่น ถ้ำพระนอน เมื่อลงไปในถ้ำแล้วจะเห็นปล่องถ้ำทะลุถึงยอดเขา ภายในถ้ำมีพระพุทธไสยาสน์องค์หนึ่ง ยาวราว 10 เมตร ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ เข้าใจว่าสร้างในสมัยอยุธยา นอกจากนั้นก็มีถ้ำพราหมณี ถ้ำชิงช้า ถ้ำน้ำ ถ้ำไฟฉาย ถ้ำไก่แจ้ ฯลฯ

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอพัฒนานิคม

ทุ่งทานตะวัน ตั้งอยู่ที่ตำบลช่องสาริกาใกล้วัดมณีศรีโสภณ ทุ่งทานตะวันแห่งนี้เป็นทุ่งทานตะวันขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งในช่วงประมาณเดือนตุลาคม - มกราคม จนกลายเป็นทุ่งทานตะวันที่มีความงดงามตามรรมชาติ การเดินทางไปชมทุ่งทานตะวันสามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางแรก สามารถเดินทางจากจังหวัดลพบุรี โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ไปประมาณ 15 กิโลเมตร จนถึงสามแยกพุแคแล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 ไปอีกประมาณ 15 กิโลเมตร ก็จะถึงทางเข้าวัดมณีศรีโสภณและให้แล้วขวาไปอีกประมาณ 2-5 กิโลเมตร ก็จะพบทุ่งทาน ตะวัน เส้นทางที่สอง สามารถเดินทางจากจังหวัดสระบุรี โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ไปประมาณ 15 กิโลเมตร จนถึงสามแยกพุแคแล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 ไปอีกประมาณ 15 กิโลเมตร ก็จะถึงทางเข้าวัดมณีศรีโสภณและให้แล้วขวาไปอีกประมาณ 2 - 5 กิโลเมตร ก์จะพบทุ่งทางตะวัน 
วัดพรหมรังษี อยู่บริเวณสี่แยกเดินทางจากจังหวัดลพบุรี 12 ริมทางหลวงหมายเลข 21 ตำบลดีลัง ห่างจากตัวอำเภอพัฒนานิคมประมาณ 9 กิโลเมตร เหตุที่วัดนี้มีชื่อว่าวัดพรหมรังษี สืบเนื่องมาจากในสมัยหนึ่ง สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ได้เดินธุดงค์และได้หยุดพักปักกลด ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาผู้ที่มีศรัทธาในพุทธศาสนาจึงได้ร่วมใจกันสร้างวัดและถวายนามนี้เป็นอนุสรณ์ วัดนี้มีพระอุโบสถทรงจตุรมุข พระเจดีย์ทรงระฆังคล้ายพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชและสิ่งก่อสร้างอื่นที่มีความสวยงาม รอบๆ บริเวณมีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยและสะอาด ผู้ที่ผ่านไปมามักแวะชมวัดนี้เสมอ


ข้อมูลอ้างอิง: http://www.novabizz.com/Map/33.htm#ixzz2SkjZzWjD