สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์: ๐๓๖-๗๗๖๑๖๒

18 ธันวาคม 2558

แนวทางการพัฒนาการเกษตรจังหวัดลพบุรี

   ทำนาปรัง มีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปี มีแต่หนี้กับซัง” เป็นประโยคที่นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ได้กล่าวไว้ในคราวเป็นประธานพิธีเปิดโครงการอบรมสัมมนาเชื่อมโยงแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยสู่แหล่งจำหน่ายสินค้า Q เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. 
ณ ห้องประชุมโรงแรมลพบุรี อินน์
ท่านผู้ว่าฯ ได้กล่าวถึงปัญหาภาคการเกษตรของไทย ซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาหลัก ๓ ประการ ดังนี้
   ๑. การผลิตที่มีต้นทุนสูง
   ๒. ประสิทธิภาพการผลิตค่อนข้างต่ำ และ
   ๓. ราคาผลผลิตตกต่ำ โยเฉพาะพืชเศรษฐกิจของไทย เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยาพารา เป็นต้น
   ทำไมต้องผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ จาการศึกษาห่วงโซ่ของวงจรสินค้าภาคการเกษตรแล้ว พบว่า ผู้ผลิตเกษตรกรซึ่งเป็นต้นทาง หรือต้นน้ำ มีมูลค่ามีรายได้เพียง ร้อยละ ๓๐ เท่านั้น แต่ช่วงกลางน้ำ ได้แก่พ่อค้าคนกลาง หรือผู้แปรรูป และช่วงปลายน้ำ ได้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือผู้ส่งออก
มีรายได้รวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๗๐ เมื่อผลิตสินค้ามีมาตรฐานปลอดภัยแล้ว ยังใช้วิธีการขาย
การวางขายแบบเดิมๆ ปะปนกัน ไม่แยกแยะคุณภาพออกให้เห็นความแตกต่าง ราคาก็จะได้เหมือนเดิม ราคาเท่าเดิม จะทำไปทำไม ไม่มีข้อแตกต่าง เราจะต้องสร้างความแตกต่าง เกษตรกรต้องผันตัวเป็นผู้ประกอบการ คือ ต้องรู้ผลประกอบการของตนเอง รู้รายได้ รู้กำไรขาดทุน
   ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีการเปิดเขตเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเสรี ซึ่งก็มีทั้งทางด้านที่เป็นคุณ และด้านที่ไม่เป็นคุณจาการรวมตัวกันนั้น ซึ่งจะสร้างความยุ่งยากให้แก่ตัวท่าน จะต้องมีผู้ได้เปรียบ และผู้เสียประโยชน์ จะมีการแข่งขันทางการค้าอย่างรุนแรง ต่อไปเราต้องมาพิจารณาว่า จะทำอะไร ปลูกหรือผลิตอะไรแล้วไม่คุ้ม สู้ราคาเพื่อนบ้านไม่ได้ ก็ควรลดเลิก ตัวอย่าง เช่น ประเทศลาว ซึ่งมีประชากรน้อย จะผลิตผงซักฟอก ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าประเทศไทย เขาจะผลิตไปทำไม ซื้อจากไทยเราถูกกว่า การผลิตข้าวก็เช่นกัน จะต้องผลิตข้าวอย่างมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เป็นต้น
     เรื่องข้าวที่เราบริโภคกันทุกวันนี้ จะแบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด คือ
   ๑. ข้าวที่มีคุณภาพสูง พบที่ประเทศจีน ซึ่งสูญพันธุ์ไม่พบเห็นมานานมากแล้ว แต่ด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มีการผลิตขึ้น ข้าวชนิดนี้มีความหอม นุ่มนอน ราคาสูงมาก
   ๒. ข้าวคุณภาพมาตรฐาน ได้แก่ ข้าวอินทรีย์ ข้าวปลอดสารพิษ ราคาดี สามารถส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ทำรายได้เข้าประเทศ
   ๓. ข้าวคุณภาพทั่วไป มีราคาต่ำ
การผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกร หากคิดว่าทำไปแล้ว ขาดทุนไม่คุ้มทุน สู้คนอื่นไม่ได้
ก็พยายามหาวิธีอื่น ตัวอย่างเช่น เคยทำนา หรือทำไร่ ประมาณ ๑๐ ไร่ ควรลดพื้นลงไปปลูกพืชแบบผสมผสาน สักประมาณ ๒ - ๓ ไร่ ให้มีรายได้จากทางอื่น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงลง ท่านชี้ชวนให้เกษตรกรลดต้นการผลิต ชวนให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
   ท่านผู้ว่าฯ ภานุ แย้มศรี ได้กล่าวในช่วงท้ายว่า จะต้องสร้างเศรษฐกิจระดับชุมชน
ให้เข้มแข็ง หาจุดนัดพบที่เหมาะสม หาตลาดกลาง สร้างความแตกต่างในตลาดสินค้าคุณภาพ สร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าปลอดภัย การเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ และการสร้างกลไกภายใน
ให้เกื้อกูลกัน ทางจังหวัดฯ พร้อมจะให้การช่วยเหลือสนับสนุน และจะเป็นแรงบันดาลใจ
ให้แก่เกษตรกรทุกคน 

การประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ตอนบน ๒

   วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ๒ เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้ากลุ่มภาคกลางตอนบน ๒ ณ ห้องประชุมสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี ในการประชุมครั้งนี้ มีนายวงศ์ศักดิ์ จารุวนาลัย พาณิชย์จังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วย ข้าราชการส่วนที่เกี่ยวข้องในกลุ่มภาคกลางตอนบน ๒ ได้แก่ จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดลพบุรี รวมถึงภาคองค์กร ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน เข้าร่วมประชุม 
ซึ่งมีวาระการประชุม พอสรุปได้ ดังนี้ 
. เรื่องประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ๔ ปี
. เรื่องนโยบายกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง Local Economy
. เรื่องการพิจารณาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าของกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ตอนบล ๒ ซึ่งมีข้อสรุปร่วมกันในการกำหนดแนวทางให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ เกษตรและอาหารปลอดภัย และเน้นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ รวมถึงการยกระดับสินค้าเกษตรอาหารปลอดภัย และการจัดทำสร้างมาตรฐานตลาดกลางการเกษตร 



11 ธันวาคม 2558

โครงการสัมมนาทางวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อข้อเสนอแนะของประชาชนในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับใหม่) ภาคกลาง ๒๖ จังหวัด

   นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี และนายสำอาง แห้วประดับ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อข้อเสนอแนะของประชาชนในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับใหม่) ภาคกลาง ๒๖ จังหวัด จัดโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีผู้เข้าสัมมนา จำนวน ๒,๑๐๐ คน มีผู้เสนอความคิดเห็นเป็นเอกสาร จำนวน ๑,๒๕๖ ชุด นอกจากนี้ในเวทีการสัมมนาได้มีการเสนอความคิดเห็นใน ๖ ประเด็น ดังนี้
   ๑. สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนที่พึงปรารถนา
      ๑.๑ สิทธิและหน้าที่ของประชาชน เสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็นโดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น
      ๑.๒ การมีส่วนร่วมของประชาชน
   ๒. หน้าที่ของรัฐที่พึงปรารถนา
      ๒.๑ หน้าที่รัฐต้องทำและประชาชนพึงประสงค์
      ๒.๒ สวัสดิการของรัฐ
      ๒.๓ การให้ความรู้
      ๒.๔ กระบวนการมีส่วนร่วม
   ๓. วิธีการเลือกตั้งที่ใสสะอาดและเป็นธรรม
   ๔. การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม
   ๕. แนวทางการปฏิรูปประเทศที่พึงปรารถนา
      ๕.๑ การเมืองการปกครอง องค์กรอิสระ
      ๕.๒ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค ความเท่าเทียม
      ๕.๓ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร
      ๕.๔ ระบบราชการยุติธรรม
      ๕.๕ การศึกษา การมีส่วนร่วมของประชาชน
  ๖. แนวทางการปกป้องรัฐธรรมมนูญ เพื่อป้องกันการล้มล้าง หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องหลัการสำคัญ









8 ธันวาคม 2558

การประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี ๒๕๕๘/ ๕๙ ครั้งที่ ๒

   เมื่อวันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๕.๐๐ น. มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี ๒๕๕๘/ ๕๙ ครั้งที่ ๒ ณ ห้องประชุมทานตะวัน ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัดลพบุรี โดยมีนายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยนายรังสรรค์ ตันเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายเธียรชัย อัจฉริยพันธุ์ ปลัดจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้แทนเข้าประชุมคณะกรรมการฯ ซึ่งมีวาระการประชุม พอสรุปได้ดังนี้
   ๑. เรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไขการพิจารณาโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี ๒๕๕๘/ ๕๙
   ๒. ผลการวิเคราะห์โครงการของทีมวิเคราะห์โครงการ
   ๓. การพิจารณาอนุมัติโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี ๒๕๕๘/ ๕๙ ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการระดับอำเภอเสนอ





3 ธันวาคม 2558

การประชุมคณะทำงานบริหารโครงการฟาร์มโคเนื้อสร้างอาชีพระดับจังหวัด

   สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี ในฐานะเลขานุการคณะทำงานบริหารโครงการฯ จัดประชุมคณะทำงาน โดยมีนายรังสรรค์ ตันเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุมคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่น เพื่อพิจารณาคัดกรองกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ที่สมัครเข้าร่วมโครงการฟาร์มโคเนื้อสร้างอาชีพ ซึ่งพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กรมปศุสัตว์กำหนดไว้ มีการประชุมเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี โดยมีกลุ่มที่สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน ๒ กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์โคกสำโรง หมู่ที่ ๑ ตำบลดงมะรุม อำเภอโคกสำโรง และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อนาโสม หมู่ที่ ๓ ตำบลนาโสม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
   กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์โคกสำโรง มีสามาชิก จำนวน ๕๓ ราย เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑๓ ราย ทุนเรือนหุ้น ๕๒๗,๙๐๐ บาท วงเงินกู้ยืม จำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ดำเนินกิจกรรมกลุ่มมาแล้ว ๑๐ ปี ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดลพบุรี
   กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนาโสม มีสามาชิก จำนวน ๕๐ ราย เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒๐ ราย ทุนเรือนหุ้น ๕๐๔,๘๐๐ บาท วงเงินกู้ยืม จำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ดำเนินกิจกรรมกลุ่มมาแล้ว ๑๑ ปี ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดลพบุรี







2 ธันวาคม 2558

โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรรายสินค้า

   สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมกับเกษตรอำเภอโคกเจริญ ธกส. สาขาโคกเจริญ ศูนย์เรียนรู้หมอดินอาสาตำบลโคกเจริญ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ และนายจำเนียร ศักดิ์ไทยเจริญชัย สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี จัดประชุมชี้แจง ให้ความรู้ และจัดทำแผนการผลิต การตลาด กิจกรรมปลูกพืชเสริมเพิ่มรายได้ (๑ ไร่ ๑ แสน) มีเกษตรกร จำนวน ๖๐ รายเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์เรียนรู้หมอดินอาสาตำบลโคกเจริญ (คุณลุงทองดำ สีไว) หมู่ที่ ๑๒ ตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายชารินทร์ สิงห์ดี ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี เป็นวิทยาการบรรยายเรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้ง หลังจากนั้นที่ประชุมได้ร่วมกันวางแผนการผลิต โดยมีผู้จัดการ ธกส. สาขาโคกเจริญ ให้คำแนะนำการสนับสนุนเรื่องทุน นอกจากนี้ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ ได้นำรับฟังปัญหาและนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร รวมทั้งการแก้ไขปัญหาต่างๆ

























1 ธันวาคม 2558

การประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ครั้งที่ ๕/ ๒๕๕๘ (สมัยสามัญ)

   สภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โดยนายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม เป็นประธานในการประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี สมัยสามัญครั้งที่ ๕/ ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีวาระเพื่อพิจารณา ดังนี้
   ๑. เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙
   ๒. เรื่องการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐







20 พฤศจิกายน 2558

การอบรมสัมมนาเชื่อมโยงแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยสู่แหล่งจำหน่ายสินค้า Q

   สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี จัดอบรมสัมมนาเชื่อมโยงแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยสู่แหล่งจำหน่ายสินค้า Q ภายใต้โครงการพัฒนากลุ่มจังหวัด ปี ๒๕๕๗ โครงการยกระดับกระบวนการผลิตแปรรูปและการผลิตสินค้าปลอดภัย โดยมีนายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวถึงปัญหาและแนวทางการพัฒนาการเกษตรของจังหวัดลพบุรี ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี และมีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๐๐ ราย เข้าอบรมสัมมนา การอบรมสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นที่ ห้องประชุมโรงแรมลพบุรีอินน์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๘.๓๐ ถึง ๑๗.๐๐ น.

   “ทำนาปรัง มีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปี มีแต่หนี้กับซัง” เป็นประโยคที่นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ได้กล่าวไว้ในคราวเป็นประธานพิธีเปิดโครงการอบรมสัมมนาเชื่อมโยงแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยสู่แหล่งจำหน่ายสินค้า Q เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมโรงแรมลพบุรีอินน์
ท่านผู้ว่าฯ ได้กล่าวถึงปัญหาภาคการเกษตรของไทย ซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาหลัก ๓ ประการ ดังนี้
   ๑. การผลิตที่มีต้นทุนสูง
   ๒. ประสิทธิภาพการผลิตค่อนข้างต่ำ และ
   ๓. ราคาผลผลิตตกต่ำ โยเฉพาะพืชเศรษฐกิจของไทย เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยาพารา เป็นต้น
   ทำไมต้องผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ จาการศึกษาห่วงโซ่ของวงจรสินค้าภาคการเกษตรแล้ว พบว่า ผู้ผลิตเกษตรกรซึ่งเป็นต้นทาง หรือต้นน้ำ มีมูลค่ามีรายได้เพียง ร้อยละ ๓๐ เท่านั้น แต่ช่วงกลางน้ำ ได้แก่พ่อค้าคนกลาง หรือผู้แปรรูป และช่วงปลายน้ำ ได้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือผู้ส่งออก มีรายได้รวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๗๐ เมื่อผลิตสินค้ามีมาตรฐานปลอดภัยแล้ว ยังใช้วิธีการขาย การวางขายแบบเดิมๆ ปะปนกัน ไม่แยกแยะคุณภาพออกให้เห็นความแตกต่าง ราคาก็จะได้เหมือนเดิม ราคาเท่าเดิม จะทำไปทำไม ไม่มีข้อแตกต่าง เราจะต้องสร้างความแตกต่าง เกษตรกรต้องผันตัวเป็นผู้ประกอบการ คือ ต้องรู้ผลประกอบการของตนเอง รู้รายได้ รู้กำไรขาดทุน
   ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีการเปิดเขตเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเสรี ซึ่งก็มีทั้งทางด้านที่เป็นคุณ และด้านที่ไม่เป็นคุณจาการรวมตัวกันนั้น ซึ่งจะสร้างความยุ่งยากให้แก่ตัวท่าน จะต้องมีผู้ได้เปรียบ และผู้เสียประโยชน์ จะมีการแข่งขันทางการค้าอย่างรุนแรง ต่อไปเราต้องมาพิจารณาว่า จะทำอะไร ปลูกหรือผลิตอะไรแล้วไม่คุ้ม สู้ราคาเพื่อนบ้านไม่ได้ ก็ควรลดเลิก ตัวอย่าง เช่น ประเทศลาว ซึ่งมีประชากรน้อย จะผลิตผงซักฟอก ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าประเทศไทย เขาจะผลิตไปทำไม ซื้อจากไทยเราถูกกว่า การผลิตข้าวก็เช่นกัน จะต้องผลิตข้าวอย่างมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เป็นต้น
เรื่องข้าวที่เราบริโภคกันทุกวันนี้ จะแบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด คือ
   ๑. ข้าวที่มีคุณภาพสูง พบที่ประเทศจีน ซึ่งสูญพันธุ์ไม่พบเห็นมานานมากแล้ว แต่ด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มีการผลิตขึ้น ข้าวชนิดนี้มีความหอม นุ่มนอน ราคาสูงมาก
   ๒. ข้าวคุณภาพมาตรฐาน ได้แก่ ข้าวอินทรีย์ ข้าวปลอดสารพิษ ราคาดี สามารถส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ทำรายได้เข้าประเทศ
   ๓. ข้าวคุณภาพทั่วไป มีราคาต่ำ
การผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกร หากคิดว่าทำไปแล้ว ขาดทุนไม่คุ้มทุน สู้คนอื่นไม่ได้ ก็พยายามหาวิธีอื่น ตัวอย่างเช่น เคยทำนา หรือทำไร่ ประมาณ ๑๐ ไร่ ควรลดพื้นลงไปปลูกพืชแบบผสมผสาน สักประมาณ ๒ - ๓ ไร่ ให้มีรายได้จากทางอื่น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงลง ท่านชี้ชวนให้เกษตรกรลดต้นการผลิต ชวนให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

   ท่านผู้ว่าฯ ภานุ แย้มศรี ได้กล่าวในช่วงท้ายว่า จะต้องสร้างเศรษฐิกจระดับชุมชนให้เข้มแข็ง หาจุดนัดพบที่เหมาะสม หาตลาดกลาง สร้างความแตกต่างในตลาดสินค้าคุณภาพ สร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าปลอดภัย การเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ และการสร้างกลไกภายในให้เกื้อกูลกัน ทางจังหวัดฯ พร้อมจะให้การช่วยเหลือสนับสนุน และจะเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เกษตรกรทุกคน 











(ภาพโดย คุณมงคล แจ้งนิล สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี)

19 พฤศจิกายน 2558

การประชุมเชิงปฏิบัติการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและการเจ็บป่วยด้วยโรคแลปโตสไปโรสิส

   สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินโครงการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและการเจ็บป่วยด้วยโรคแลปโตสไปโรสิส โดยมีวัตุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและการเจ็บป่วยด้วยโรคแลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างให้เป็นตัวแทนประชากรในการสำรวจ รวม ๑๓ จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี น่าน พิษณุโลก ชลบุรี กาฬสินธุ์ อุทัยธานี หนองคาย ลพบุรี นครราชสีมา อำนาจเจริญ พัทลุง นครศรีธรรมราช และกรุงเทพมหนานคร โดยมีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ วิธีการทำงาน ตลอดจนตอบประเด็นข้อซักถามต่างๆ ซึ่งมีประธานสภาเกษตรกร และหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกร หรือผู้แทนเข้าร่วมประชุมใน ๑๓ จังหวัด เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมโรงแรมพักพิง อิงทาง บูติค โฮเทล จังหวัดนนทบุรี





17 พฤศจิกายน 2558

การประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชน

   วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ นายภาณุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชน พร้อมด้วยนายรังสรรค์ ตันเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดลพบุรี และประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้มอบหมายให้หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรฯ เข้าร่วมประชุมเพื่อกลั่นกรองโครงการที่ได้มีการพิจารณารับรองจากตำบล และอำเภอ โดยมีการประชุมที่ ห้องประชุมทานตะวัน ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัดลพบุรี ตั้งแต่เวลา ๑๕.๓๐ ถึง ๑๗.๐๐ น.
ซึ่งมีวาระการประชุมพอสรุปได้ ดังนี้
   ๑. มาตรการเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง ปี ๒๕๕๘/ ๕๙
   ๒. คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนมาตรการขับเคลื่อนการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนจังหวัดลพบุรี
   ๓. การสำรวจความต้องการของประชาชนและพื้นที่ที่จะรองรับการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร
   ๔. การพิจารณากำหนดเกณฑ์มาตรฐานค่าจ้างและวัสดุอุปกรณ์
   ๕. การพิจารณาอนุมัติโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี ๒๕๕๘/ ๕๙ ตามที่คณะกรรมการการกลั่นกรองโครงการระดับอำเภอเสนอ ระยะที่ ๑
   ๖. กรอบระยะเวลาในการนำเสนอโครงการ/ กิจกรรมระดับอำเภอ


16 พฤศจิกายน 2558

การสนทนากลุ่มและให้ความเห็นเรื่อง "การเข้าถึงแหล่งทุนของผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเกษตร"

   นายสำอาง แก้วประดับ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการศึกษาวิจัย การศึกษาประเด็นปัญหาและอุปสรรคการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร (ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา) และความต้องการความช่วยเหลือให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงประเด็นปัญหาในมิติอื่นๆ ซึ่งคณะผู้วิจัยจัดให้มีการสนทนากลุ่มและให้ความเห็น โดยมีผู้แทนเกษตรกร องค์กรเกษตรกร ผู้แทน บสย. ซึ่งจัดกิจกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมกมลพร ๓ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร โดยมีประเด็นสนทนากลุ่มดังนี้
   ๑. ความรับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของ บสย.
   ๒. การดำเนินธุรกิจ/ กิจการด้านการเกษตรเป็นอย่างไร และ
   ๓. ปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุน




12 พฤศจิกายน 2558

การประชุมสัมมนา เรื่องแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติในปีงบประมาณ ๒๕๕๙

   สภาเกษตรกร และสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดประชุมสัมมนาเรื่องแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุมมารวย กาเด็นส์ กรุงเทพมหานคร โดยมีประธานสภาเกษตรกรจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกร ทั้ง ๗๗ จังหวัด เข้าอบรมสัมมนา ซึ่งมีหัวข้อการประชุมสัมมนา โดยสรุป ดังนี้
   วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ลงทะเบียน เลขาธิการแจ้งชี้โครงการอบรมสัมมนา
   วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
      นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดฯ พร้อมทั้งมอบแนวนโยบายในการทำงานในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ โดยกำชับให้เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติ และดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกร
      นางบริสุทธิ์ เปรมประพันธ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บรรยายปัญหาการเกษตรไทย นโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล  นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ งานเพื่อความยั่งยืน ภารกิจของสภาเกษตรกรแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการการเกษตรกร ปัญหาของสภาเกษตรกรแห่งชาติ และแนวทางการแก้ปัญหา
      นายอิทธิพงศ์ คุณากรบดินทร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ปาฐกถาพิเศษ "มุมมองการขับเคลื่อนสภาเกษตรกรแห่งชาติในอนาคต" ปัญหาของสภาเกษตรกรแห่งชาติ
      นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมรองประธานสภาเกษตรกรคนที่ ๑ และ ๒ พร้อมด้วยเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เสวนาและอภิปรายเรื่อง "สะท้อนการปฏิบัติงานร่วมกันของสภาเกษตรกรแห่งชาติ"
   วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
      นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และนายธีระ วงษ์เจริญ คณะกรรมการด้านยุทธศาสตร์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ นำเสนอเรื่อง "ขบวนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบลเชิงคุณภาพ
      นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ คนที่ ๒ นายมนตรี ถาวร ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และนายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมบรรยายเรื่อง "การสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร
      นายอำนวย ปะติเส ผู้ทรงคุณวุฒิฯ นำเสนอเรื่อง "การบูรณาการและขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล"
      นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) บรรยายสรุปแนวทางการปฏิรูปการเกษตร ขบวนการปฏิรูปด้านการเกษตรกร
      นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ คนที่ ๒ กล่าวสรุปการประชุมสัมมนา และปิดการประชุมสัมมนา เวลา ๑๖.๐๐ น.