สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์: ๐๓๖-๗๗๖๑๖๒

30 มิถุนายน 2558

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘

โครงการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดภัย ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

   สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมโครงการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดภัย ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์จัการศัตรูพืชชุมชนตำบลบางขาม อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยกำนันตำบลบางขาม และนายบุญชู ปาระมี ซึ่งเป็นผู้ปฎฺิบัติงานสภาเกษตรกรระดับอำเภอ อำเภอบ้านหมี่ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู็แก่นักเรียน จำนวน ๙๖ ราย นอกจากกิจกรรมการบรรยายในห้องแล้ว หน่วยงานจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลพบุรี สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ ได้จัดฐานการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้เพื่อเป็นการสาธิตให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฎิบัติ



























29 มิถุนายน 2558

ข่าวประชาสัมพันธ์เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘




กิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ

   สำนักงานสภาเกษตรกรฯ และสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมกับสถานีวิจัยฯ คณะเกษตร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน รวมจำนวน ๘๐ คน ร่วมทำกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ในพื้นที่ ๑๐ ไร่บ ริเวณสถานีวิจัย ม. เกษตรศาสตร์ ตำบลเพนียด อ.โคกสำโรง จังหวัดลพบุรี (วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘)







26 มิถุนายน 2558

การประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดลพบุรี ครั้งที่ ๒/ ๒๕๕๘

   เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดลพบุรี ครั้งที่ ๒/ ๒๕๕๘ โดยมีคณะกรรมเข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นหน้าหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน และหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าประชุม ซึ่งวาระเพื่อพิจารณา ดังนี้
๑. เรื่องการพิจารณาแผนความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ยังไม่ได้เพาะปลูกข้าว จังหวัดลพบุรี
๒. เรื่องการพิจารณาขออนุมัติแต่งตั้งผู้ช่วยผู้จัดการแปลงโครงการเกษตรแบบแปลงใหญ่
๓. เรื่องการพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จำนวน ๓ คณะ
   ๓.๑ คณะทำงานแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี
   ๓.๒ คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี
   ๓.๓ คณะทำงานติดตามประเมินผลด้านการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี












ภาพและข่าวจากสื่อ

(รายงาน) "สภาเกษตรกร" เตรียมเสนอครม.บริหาร-จัดการภาคเกษตรปี58


สภาเกษตรกร เสนอแนวทางบริหารจัดการ เพื่อความมั่นคงอาชีพเกษตรกรปีหน้า เสนอตั้งกองทุนสวัสดิการเกษตรกรรองรับร่างพ.ร.บ การกระจายที่ดิน 4 ฉบับ ระบุแนวทางแก้ปัญหายาง กุ้ง เพิ่มพื้นที่ชลประทาน จาก 5.7% เป็น 25% พร้อมตั้งทบวงทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รับมือวิกฤติแล้ง

สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เปิดรับฟังความเห็นจากเกษตรกรทุกภาคครอบคลุมทั้งพืช สัตว์ ประมง ที่ดิน แหล่งน้ำ การตลาด อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักร ปัจจัยการผลิต กฎหมายด้านการเกษตร เทคโนโลยี องค์ความรู้เกษตรกรรม แหล่งทุน ทรัพยากรธรรมชาติและเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มาก่อนหน้านี้

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สิ่งที่ได้รับจากการรับฟังความเห็นจะเสนอให้ครม.พิจารณา เพื่อวางนโยบายและแผนการพัฒนาความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรอย่างแท้จริง ในปี 2558

ทั้งนี้สิ่งที่จะเสนอให้ครม.พิจารณาจะเป็นนโยบายการจัดสวัสดิการเกษตรกร โดยจะเสนอร่างพระราชบัญญัติการจัดสวัสดิการเกษตรกร พ.ศ.. สาระสำคัญได้เสนอให้มีคณะกรรมการสวัสดิการเกษตรกร การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเกษตรกร การบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกร และการจัดสวัสดิการเกษตรกร

ส่วนนโยบายการปฏิรูปที่ดิน ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ 4 ฉบับ เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน ส่งเสริมให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน รับรองสิทธิชุมชนในรูปแบบกรรมสิทธิ์ร่วม (Collective Rights) จัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติและยกระดับกองทุนยุติธรรมให้เป็นนิติบุคคลช่วยเหลือเกษตรกรในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ คือร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยภาษีที่ดินและอัตราก้าวหน้า พ.ศ... ร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งธนาคารที่ดินเพื่อคนจนและเกษตรกร พ.ศ... ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร พ.ศ... และร่าง พ.ร.บ. กองทุนยุติธรรม พ.ศ..

ขณะที่ด้านบริหารจัดการข้าวและชาวนา เสนอให้มีการจัดยุทธศาสตร์เยียวยาภาวะวิกฤติ แก้ปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าของชาวนา ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูภูมิปัญญาและการบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์ลดการเจ็บป่วย และยุทธศาสตร์เพิ่มรายได้ ส่วนการแก้ปัญหายางพารา ได้เสนอเชิงยุทธศาสตร์ และร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.....

โดยเชิงยุทธศาสตร์ ควรสร้างเสถียรภาพราคายางพารา โดยบริหารจัดการผลผลิตเพื่อการส่งออกให้ได้ราคา ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบตลาดยางพาราในประเทศ ปรับปรุงระบบบริการจัดการภาครัฐ โดยร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.... เพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการ ปรับโครงสร้างการผลิต และ ส่งเสริมการแปรรูปยางพารา พัฒนาคนและองค์กรเกษตรกรและ พัฒนาความสามารถในอาชีพของเกษตรกรเพื่อ ยกระดับความเข้มแข็งขององค์กรเกษตรกร

นายประพัฒน์ กล่าวว่าสภาเกษตรกร ยังเสนอให้กำหนดยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง โดยเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยเป็น 5 ตันต่อไร่ ในพื้นที่ต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังแบบครบวงจรโดยระบบการรวมกลุ่มของเกษตรกร ซึ่งภาครัฐจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อการลงทุนเพิ่ม ให้ความช่วยเหลือในเขตพื้นที่ปลูกมันเหมาะสม สร้างความเข้มแข็งองค์กรเกษตรกร สร้างศูนย์จักรกลเกษตรระดับชุมชน มีการบริหารจัดการ กำหนดนโยบายมันสำปะหลังเป็น NON-GMO

ยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมัน ภาครัฐควรมีมาตรการทบทวนการกำหนดพื้นที่เหมาะสม สนับสนุนการผลิตพลังงานทดแทน กำหนดมาตรฐานทะลายปาล์มน้ำมัน ลานเท แปลงเพาะพันธุ์และกล้าพันธุ์ จัดการสต็อกเพื่อเสถียรภาพราคา ออกมาตรการรับซื้อผลปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพและมีอัตราน้ำมันไม่ต่ำกว่า18% เป็นราคาเดียวกัน ขึ้นทะเบียนผู้ผลิต ผู้นำเข้าเมล็ดพันธุ์ ผู้เพาะต้นกล้าพันธุ์ ผู้จำหน่ายพันธุ์ ลานเท และโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม

รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรทำธุรกิจโรงสกัดน้ำมันปาล์ม เพื่อลดต้นทุนการผลิต ควรรวมกลุ่มเกษตรกรนอกเขตพื้นที่เหมาะสมเพื่อขอประกาศเพิ่มเติม ใช้พันธุ์และกล้าพันธุ์ปาล์มที่ได้มาตรฐาน ตัดขายทะลายปาล์มที่สุกและได้คุณภาพ สมัครใจเข้าเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร

ส่วนการแก้ปัญหาอุตสาหกรรมกุ้งไทย กรมประมงต้องเร่งนำเข้าพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งคุณภาพ โรงเพาะฟักของเอกชนเพื่อเร่งผลิตลูกกุ้งที่ได้คุณภาพให้แก่เกษตรกรลดขั้นตอนและอำนวยในความสะดวกการนำเข้าเพื่อเร่งให้อุตสาหกรรมกุ้งส่งออกของไทยกลับสู่สภาวะปกติ ชดเชยความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งจากอาการตายด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพให้กับเกษตรกร

นอกจากนี้ ควรมีมาตรการคุ้มครองการลงทุนของเกษตรกร มีการประกันภัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่สหกรณ์ประมง เพื่อทำกิจการกับเกษตรกร และรวบรวมผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบอุตสาหกรรมกุ้งส่งออกของไทย และแก้ปัญหาวิกฤติภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐบาลควรเพิ่มพื้นที่ชลประทานจาก 5.7 % เป็น 25 % ของพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ภายใน 5 ปี ส่วนมาตรการระยะยาวควรจัดตั้งทบวงทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/news/623834)


(ที่มา : http://www.banmuang.co.th/news/region/17932)

25 มิถุนายน 2558

ข่าวประชาสัมพันธ์เดือนมิถุนายน ๒๕๕๘



การประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี สมัยสามัญครั้งที่ ๓/ ๒๕๕๘

   สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี อำนวยการจัดประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ครั้งที่ ๓/ ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี โดยมีนายอุบลศักดิ์ บัววหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งมีเรื่องในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
๑. การหาแนวทางจัดทำข้อเสนอเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาในเขตชลประทานที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
๒. การหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาหนี้สิน
๓. การพิจารณาปรับแผนงบประมาณและการปฎิบัติงาน
๔. การพิจารณากิจกรรมการจัดทำทะเบียนบัญชีรายชื่อเกษตรกร
๕. การพิจารณากิจกรรมการพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี