สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์: ๐๓๖-๗๗๖๑๖๒

26 กุมภาพันธ์ 2558

การประชุมคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจรระดับจังหวัด จังหวัดลพบุรี

           การประชุมคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจร ผ่านระบบการประชุมทางไกล เครือข่ายมหาดไทย เรื่องการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายางพาราระดับจังหวัด วันพุธที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓๐ น. ถ่ายทอดสัญญาณจากห้องประชุม ๑๒๔ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในที่ประชุม
            คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด จังหวัดลพบุรี เข้าร่วมประชุม ณ พระปรางค์สามยอด ชั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดลพบุรี โดยมีนายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุม มีหัวหน้าส่วน ผู้แทนส่วนราชการเข้าประชุม
            ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
๑. เรื่องรายงานสถานการณ์ราคายางพาราทุกชนิด ในตลาดไทยและต่างประเทศ ซึ่งแยกออกได้เป็นกลุ่ม ดังนี้
            ๑.๑ ราคายาง ก้อนถ้วย                   กิโลกรัมละ ๓๙.๕๐ บาท
            ๑.๒ ราคายาง น้ำยางสด                  กิโลกรัมละ ๔๗.๐๐ บาท
            ๑.๓ ราคายาง ยางแผ่นดิบ/ ท้องถิ่น    กิโลกรัมละ ๕๐.๙๐ บาท
            ๑.๔ ราคายาง ยางแผ่นดิบ/ สงขลา     กิโลกรัมละ ๕๘.๕๕ บาท
            ๑.๕ ราคายาง F.O.B. กรุงเทพ            กิโลกรัมละ ๖๓.๑๕ บาท
            รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องราคายาง และการดำเนินมาตรการ ใน ๑๒ มาตรา ซึ่งมีหน่วยงานขับเคลื่อนอยู่ ๕ ระดับ ได้แก่ คสช., ครม.,  กระทรวงเกษตรกรฯ , รมต. สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
๒. เรื่องการจัดทำและรายงานข้อมูลจากแต่ละจังหวัด เพื่อนำมาจัดทำแผนการผลิต ปี ๒๕๕๘/ ๒๕๕๙ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการบริหารจัดการยางพาราของจังหวัด การตรวจสอบและการประมาณสต็อกยางพารา การนำไปใช้ และการพยากรณ์ต่างๆ เพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาในอนาคต นอกจากนี้ รมช. ได้กล่าวถึง ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
            - สถานการณ์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
            - สถานการณ์ในปี ๕๘/ ๕๙ ในความเห็นของจังหวัด
            - ข้อเสนอแนะในการจัดทำนโยบาย
๓. การรับฟัง แลกเปลี่ยน เสนอความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรคต่างๆ ในแต่ละจังหวัด
เลิกประชุม เวลา ๑๔.๓๕ น.




25 กุมภาพันธ์ 2558

การประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ครั้งที่ ๑/ ๒๕๕๘

    สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี จัดประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ครั้งที่ ๑/ ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุมเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี โดยมีนายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในที่ประชุม

    เริ่มประชุม เวลา ๐๙.๐๐ น.ซึ่งมีวาระในการประชุม และผลการประชุม ดังต่อไปนี้
๑. เรื่องการแต่งตั้งคณะผู้ประสานงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ในระดับตำบล
    ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะผู้ประสานงาน จำนวน ๑๒๒ คณะ จำนวน ๑,๑๒๒ คน

๒. เรื่องการขอความเห็นชอบการดำเนินกิจกรรมของสภาเกษตรจังหวัดลพบุรี จำนวน ๒๓ กิจกรรม
     ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบให้สำนักงานดำเนินการตามแผนกิจกรรม

๓. เรื่องการคัดเลือกกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันสินค้าทางการเกษตร
     ที่ประชุมมีมติเลือกดำเนินการกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบย้อนกลับ และการจัดเวทีเจรจาทางการค้า

๔. เรื่องการคัดเลือกปัญหาในการจัดสัมมนาภายใต้กิจกรรมสนับสนุนนโยบายรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร และแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรอื่นๆ
     ที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการ ๑. การแก้ไขปัญหาเรื่องดิน ๒. ปัญหาด้านปศุสัตว์

๕. เรื่องการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการจัดฝึกอบรมยุวเกษตรกร
     ที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้สมาชิสภาเกษตรกรซึ่งเป็นผู้แทนแต่ละอำเภอ กำหนดและเสนอแผน และแจ้งมายังสำนักงาน

20 กุมภาพันธ์ 2558

การประชุมเพื่อรับฟังนโยบายการติดตามงาน เขตตรวจราชการที่ ๒ กษ.

  
    ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีมอบหมายให้หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าประชุมเพื่อรับฟังการชี้แจงแนวทางการตรวจราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ห้องประชุมทานตะวัน (ชั้น5)  ศาลากลางจังหวัดลพบุรี โดยมีนายสุรเดช เตียวตระกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในที่ประชุม เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.     
   ซึ่งสรุปสาระสำคัญในการประชุม ตามระเบียบวาระได้ดังนี้
 
                   ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
                   1.1 คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 50/2558 ลงวันที่ 16 มกราคม 2558 เรื่อง มอบหมายเขตตรวจราชการและการตรวจติดตามเร่งรัดการปฏิบัติงาน
                   1.2 คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 102/2558 ลงวันที่ 28 มกราคม 2558 เรื่อง แผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2558
                   ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ
                   2.1 การชี้แจงประเด็นการตรวจติดตามงานในการตรวจราชการ ตามแผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2558
                   2.2 รูปแบบการนำเสนอข้อมูลในการตรวจราชการ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 2
                   2.3 การจัดทำรายงานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการฯ รอบที่ 1
                   2.4 ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน
                   ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
                   3.1 กำหนดการตรวจราชการฯ รอบที่ 1
                   ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
                   4.1 การแจ้งเรื่องเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 2
                   4.2 การสรุปรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สำคัญ
                   4.3 ปัญหาผลกระทบจาการทำโซล่าฟาร์ม เสนอให้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
                   4.4 ปัญหาปุ๋ยนาโน และการแก้ไขปัญหา
                   4.5 ปัญหาผลกระทบด้านการแข่งขันสินค้าทางการเกษตร ภายในกรอบการค้า AEC
                   4.6 ปัญหาน้ำเสีย จากการปล่อยน้ำเสียจากสารเคมีทางการเกษตร


19 กุมภาพันธ์ 2558

การประชุมคณะทำงานด้านปศุสัตว์ ประจำสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี

   วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี จัดประชุมคณะทำงานด้านปศุสัตว์ ประจำสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โดยมี นายคำรณ นิลละออ ประธานคณะทำงานฯ เป็นประธานในที่ประชุม มีคณะทำงานเข้าประชุมโดยพร้อมเพียงกัน เริ่มประชุม ในเวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณืจังหวัดลพบุรี
   ในการประชุม สามารถสรุปประเด็นได้ ดังนี้

๑. เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ประธานคณะทำงาน ชี้แจงผลการประชุมเสวนาอุตสาหกรรมโคเนื้อในทศวรรษหน้า และการสัมมนายุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อสำหรับเขตภาคเหนือ เมื่อวันที่ ๗ - ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ บริเวณอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแจง อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์

๒. เรื่องเพื่อพิจารณา
   ๒.๑ เรื่องการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้ออย่างยั่งยืน เพื่อเป็นอาชีพทดแทนการปลูกพืชเศรษฐกิจ
      ๒.๑.๑ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อเพิ่มมูลค่า (ไก่ชน)
      ๒.๑.๒ การเลี้ยงโค กระบือ สายพันธุ์ดี
      ๒.๑.๓ การเลี้ยงแพะ แกะ เพื่อเป็นเป็นทางเลือกใหม่ในการทำปศุสัตว์
   ๒.๒ เรื่องการอบรมสัมนา การรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อจังหวัดลพบุรี
      ๒.๒.๑ การจัดเก็บข้อมูล
      ๒.๒.๒ การสร้างเครือข่าย และการจัดฝึกอบรมให้ความรู้
   ๒.๓ เรื่องการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านปศุสัตว์
   ๒.๔ เรื่องการจัดทำโครงการเื่อฝึกอบรม และส่งเสริมแก่เกษตรกร



งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกร

   เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. นายสำอาง แก้วประดับ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมประชุมกับองค์กรเกษตรกร ให้คำแนะนำ เผยแพร่ให้ความรู้แก่เกษตรกร และองค์กรเกษตรกรตำบลหนองผักแว่น อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร การปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเกษตรกร ในเรื่องการค้ำประกัน จำนอง นอกจากนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับการนำเสนอโครงการในการแก้ปัญหาภัยแล้ง






18 กุมภาพันธ์ 2558

การปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การค้ำประกัน จำนอง

   เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ

   โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันและผู้ จำนองซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้นแต่เป็นเพียงบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ในการที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เท่านั้นโดยข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติปรากฏ ว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืม มักจะอาศัยอำนาจต่อรองที่สูงกว่าหรือความได้เปรียบในทางการเงินกำหนดข้อตกลง อันเป็นการยกเว้นสิทธิ ของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ค้ำประกันหรือผู้จำนองต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น กรณีจึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปไม่ได้รับ ความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมายรวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลาย อีกเป็นจำนวนมากดังนั้นเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


สรุปสาระสำคัญ พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ ดังนี้

    (๑) กฎหมายใหม่นี้เริ่มมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เป็นต้นไป

    (๒) สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนว่าค้ำประกันหนี้อะไร จำนวนเท่าใด และผู้ค้ำประกันจะรับผิดชอบเฉพาะหนี้ที่ระบุไว้ชัดเจนเท่านั้น หากขาดความชัดเจน ผลจะตกเป็นคุณแก่ผู้ค้ำประกันที่อาจทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด

    (๓) สัญญาค้ำประกันจะมีข้อตกลงกำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้นไม่ได้ หากฝ่าฝืน ตกลงกันไป ข้อตกลงในส่วนนั้นจะตกเป็นโมฆะ

    (๔) กรอบความรับผิดของผู้ค้ำประกันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ (ตาม มาตรา ๖๘๑ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา ๖๙๔ มาตรา ๖๙๘ และ มาตรา ๖๙๙) เจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกันจะทำสัญญากันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเพื่อขยายความรับ ผิดของผู้ค้ำประกันให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ได้ หากฝ่าฝืนทำสัญญาตกลงกันไป ข้อตกลงที่ขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกัน นี้ จะตกเป็นโมฆะ

    (๕) ขั้นตอนในการที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ เดิมกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ให้ชัดเจนนัก แต่กฎหมายใหม่ได้เขียนขั้นตอนให้เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน หากเจ้าหนี้ปฏิบัติผิดขั้นตอน หรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน อาจมีผลทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดได้

    (๖) ถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ชั้นต้นเท่าใด ก็ให้ภาระความรับผิดของผู้ค้ำประกัน ลดลงเท่านั้น ข้อตกลงใดที่จะมีผลเป็นอย่างอื่น ให้ตกเป็นโมฆะ

    (๗) การตกลงกันไว้เป็นการล่วงหน้าว่า หากเจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันให้ความยินยอมในการผ่อนเวลานั้นๆด้วย เช่นนี้ กฎหมายใหม่ให้ถือว่าตกเป็นโมฆะ

    (๘) การจำนองที่จำนองเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น (ผู้จำนองกับลูกหนี้เป็นคนละคนกัน) จะมีข้อตกลงกันว่าหากบังคับจำนองแล้วยังเหลือหนี้อยู่เท่าใด ให้ผู้จำนองยังคงรับผิดชำระหนี้ ในส่วนที่ยังคงเหลือด้วย ข้อตกลงเช่นนี้จะตกเป็นโมฆะตามกฎหมายใหม่

    (๙) กฎหมายเดิมไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้จำนองในการที่จะเป็นฝ่ายเร่งรัดให้มีการบังคับจำนองให้จบๆ ไป แต่กฎหมายใหม่ได้มีบทบัญญัติให้สิทธินี้แก่ผู้จำนอง ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องบังคับจำนอง ขายทอดตลาดภายใน ๑ ปี

   คลิกเพื่อเปิดอ่าน

12 กุมภาพันธ์ 2558

การประชุมคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ ประจำสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี

   เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี จัดประชุมคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ ประจำสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โดยมีนายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด และประธานคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยคณะทำงานประชุมเข้าประชุม รวม ๑๑ คน เริ่มประชุมตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. เลิกประชุม เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี

   ซึ่งมีวาระในการประชุมที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
๑. เรื่องการศึกษาปัญหาและการวิเคราะห์การบริหารจัดการด้านยุทธศาสตร์การเกษตรจังหวัดลพบุรี
๒. เรื่องการพิจารณาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการกู้ยืมเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
๓. เรื่องการชี้แจงรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมของสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ประจำปี ๒๕๕๘
๔. เรื่องการกำหนดประเด็นในการแก้ไขปัญหาทางการเกษตร
๕. เรื่องการพิจารณาดำเนินโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ
๖. เรื่องอื่นๆ


11 กุมภาพันธ์ 2558

การประชุมคณะทำงานด้านกิจการสภา ประจำสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี

   เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี จัดประชุมคณะทำงานด้านกิจการสภา ประจำสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โดยมีนายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด และประธานคณะทำงานด้านกิจการสภา เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยคณะทำงานประชุมเข้าประชุม รวม ๑๑ คน เริ่มประชุมตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. เลิกประชุม เวลา ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี

   ซึ่งมีวาระในการประชุมที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
๑. เรื่องการศึกษา วิเคราะห์ แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
๒. เรื่องกำหนดกรอบการดำเนินงานของคณะทำงานฯ ประจำปีงบประมาณปี ๒๕๕๘
๓. เรื่องอื่นๆ 







9 กุมภาพันธ์ 2558

การประชุมเพื่อมอบนโยบายและติดตามการทำงานด้านการเกษตรจังหวัดลพบุรี

   เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ระหว่างเวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. นายอภัย สิทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในที่ประชุมหนัวหน้าส่วนราชการ เพื่อมอบนโยบายและติดตามการทำงานด้านการเกษตรจังหวัดลพบุรี โดยมีหัวหน้าส่วนราชการสังกระทรวงเกษตรฯ ในจังหวัดลพบุรี และหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี ในที่ประชุมได้มีการติดตามการทำงาน หารือประเด็นปัญหา  ข้อเสนอแนะต่างๆ รวมถึงการกำหนดแนวทางในการพัฒนาด้านการเกษตรแบบองค์รวม "ลพบุรีโมเดล" นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการจัดหา และการเข้าถึงแหล่งทุนจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร










5 กุมภาพันธ์ 2558

การประชุมส่วนราชการเพื่อหารือการดำเนินโครงการตลาดเกษตรกร

  

          ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี มอบหมายให้นายสำอาง แก้วประดับ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าประชุมส่วนราชการเพื่อหารือการดำเนินโครงการตลาดเกษตรกร (Farmer Market) จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ระหว่างเวลา ๑๐.๐๐ – ๑๑.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีผลการประชุมโดยสรุป ดังนี้
          ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
                             นายไชยรัตน์ นวีภาพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี เป็นประธานในที่ประชุม ชี้แจงผลการดำเนินโครงการตลาดเกษตรกร ปัญหาที่พบ สินค้าที่นำมาขายยังขาดความหลากหลาย จะต้องมีการประชาสัมพัมธ์ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง และชักชวนให้เกษตรกรนำสินค้ามาขาย
          ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุม
          ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อทราบ
                             การตรวจประเมินผลการจัดตลาดเกษตร เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๘ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต ๗ ได้ตรวจประเมินผลการจัดตลาดเกษตรกร ซึ่งผลการประเมินจังหวัดลพบุรีได้ผลคะแนนรวม ๗๓.๕๓ เป็นลำดับที่ ๒ ของกลุ่มภาคกลางตอนบน ซึ่งประกอบด้วย ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท สำหรับอันดับที่ ๑ ได้แก่ จังหวัดสิงห์บุรี
                             จากผลการประเมินดังกล่าว จะต้องปรับปรุงแก้ไข ทางสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการจัดซื้อเต้นท์สำหรับผู้ขายเพิ่มเติม
          ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา
                             ๔.๑ เรื่องการสุ่มตรวจสารพิษในสินค้าเกษตร โดยขอความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดดำเนินการตรวจสารพิษในพืชผัก ผลไม้ ที่นำมาจำหน่าย ที่ประชุมเสนอให้ทางสำนักงานฯ มาทำการสุ่มตรวจสัปดาห์ละ ๑ ครั้งเป็นอย่างน้อย ซึ่งผู้แทนสำนักงานฯ รับไปปรึกษาและจะมอบให้ผู้เกี่ยวข้องมาดำเนินการ
                             ๔.๒ เรื่องตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า GAP ผู้อำนวยการ สวพ.ลพบุรี ชี้แจงเรื่องการรับรองมาตรฐานสินค้า ระยะเวลาการออกใบรับรอง การดำเนินการต่างๆ
                             ๔.๓ เรื่องการประชาสัมพันธ์ตลาดเกษตรกร เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ในสื่อสารมวลชนช่องทางสื่อต่างๆ และขอความอนุเคราะห์ทางประชาสัมพันธ์จังหวัด และจากสถานวิทยุท้องถิ่น
                             ๔.๔ เรื่องการเก็บแบบสัมภาษณ์ ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากหน่วยงานในสังกัดเกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำหน้าในการจัดเก็บแบบสอบถาม ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือ สำหรับผู้ขายและสำหรับผู้ซื้อ โดยดำเนินการสำรวจตอบแบบสอบถามในวันที่จำหน่าย คือ วันอังคาร และวันศุกร์ ส่งแบบให้สำนักงานเกษตรกรและสหกรณ์ในวันจันทร์ของสัปดาห์ถัดไป
                             ๔.๕ เรื่องการดูแล/ เก็บรักษาเต็นท์ ที่ประชุมได้กำหนดผู้รับผิดชอบหน่วยที่เกี่ยวข้องเป็นรายสัปดาห์ ซึ่งทางสำหรับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จะทำตารางผู้รับผิดชอบต่อไป



4 กุมภาพันธ์ 2558

การประชุมคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจรทางไกลผ่านระบบ Video Conference

   เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ระหว่างเวลา ๑๑.๓๐ - ๑๓.๐๐ น.ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีได้มอบหมายให้นายสำอาง แก้วประดับ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าประชุมคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจรระดับจังหวัด จังหวัดลพบุรี ณ ห้องประชุมพระปรางค์สามยอด ชั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดลพบุรี โดยมีนายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด และมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมในครั้งนี้
   สำหรับการประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมผ่านระบบประชุมทางไกล ผ่านระบบเครือข่ายมหาดไทย ซึ่งมีการถ่ายทอดสัญญาณจากห้องประชุม ๑๒๔ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุม
   สรุปการสาระสำคัญได้ดังนี้
๑. การชี้แจงทำความเข้าใจสถานการณ์ด้านการบริหารจัดการยางพารา
๒. หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา
๓. การชี้แจงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้/ สถานการณ์ด้านราคา
๔. การดำเนินการในการแก้ปัญหาใน ๑๖ มาตรา
๕. การแก้ไขปัญหาน้ำยางสด และน้ำยางก้อนถ้วย ซึ่งมีราคาตกต่ำ
๖. การบริหารจัดการตลาดรับซื้อยางพารา
๗. การขอความร่วมมือสนับสนุนในการแก้ปัญหาจากจังหวัด
๘. ตอบข้อซักถามจากจังหวัดต่างๆ ที่เข้าประชุม