สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์: ๐๓๖-๗๗๖๑๖๒

29 เมษายน 2559

การอบรมโครงการสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรเกษตรกรรายสินค้าเกษตร

   เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี จัดฝึกอบรมเกษตรกร ตามโครงการสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรเกษตรกรรายสินค้าเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์ปัญหาทางการเกษตร พัฒนาปรับเปลี่ยนกิจกรรมเกษตรในฟาร์ม สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การทำแผนการผลิตและแผนความต้องการ การจัดตั้งกลุ่ม และการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม มีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๑ ตำบล รวม ๑๑๐ คน เข้ารับการฝึกอบรม จัดขึ้นที่ห้องคอนเวนชั่น โรงแรมลพบุรีอินน์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
























28 เมษายน 2559

ประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ครั้งที่ ๒/ ๒๕๕๙ (วาระพิเศษ)

   เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๓๐ นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ครั้งที่ ๒/ ๒๕๕๙ (วาระพิเศษ) ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี โดยมีวาระเเพื่อพิจารณา ดังนี้
   ๑. เรื่องขอความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะทำงานประจำสภาเกษตรกรจังหวัด และมอบหมายภารกิจ
   ๒. เรื่องการพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาอาชีพของเกษตรกร
   ๓. เรื่องขอความเห็นชอบในการดำเนินโครงการ "ขยายผลเกษตรกรต้นแบบสู่นักเรียนในสถานศึกษา"
   ๔. เรื่องขอความเห็นชอบในการย้ายสำนักงาน
   ๕. เรื่องการพิจารณาแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ (เพิ่มเติม)






21 เมษายน 2559

ประชุมชี้แจงโครงการขยายผลเกษตรกรต้นแบบสู่นักเรียนในสถานศึกษา

    เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายสำอาง แก้วประดับ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยพนักงานสภาเกษตรกร และนายจำเนียร ศักดิ์ไทยเจริญชัย สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าพบผู้บริหารโรงเรียนโคกเจริญวิทยา อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี โดยมีรองผู้อำนวยการเรืองศรีสุขอร่าม และครูที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงโครงการฯ รวมถึงทำความเข้าวิธีการดำเนินงานต่างๆ ของโครงการ ซึ่งเป็นโรงแรมนำร่อง ๑ ใน ๘ โรงเรียนทั้งประเทศที่จะเริ่มดำเนินการในช่วงเปิดเทอมแรกของปีการศึกษา ๒๕๕๙ นี้ มีเนื้อหาในการเรียนการสอนเรื่องปรัชญาเศรษฐิกิจพอเพียง การรวมกลุ่ม วิธีการสหกรณ์ และกิจกรรมต่างๆ รวม ๒๐ คาบ





12 เมษายน 2559

ตรวจสอบรายชื่อเกษตรกร ตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกร สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี

คลิกตามรายชื่ออำเภอที่ต้องการตรวจสอบ
๑.   อำเภอเมือง
๒.   อำเภอพัฒนานิคม
แผนที่จังหวัดลพบุรี
๓.   อำเภอบ้านหมี่
๔.   อำเภอท่าวุ้ง
๕.   อำเภอชัยบาดาล
๖.   อำเภอโคกสำโรง
๗.   อำเภอสระโบสถ์
๘.   อำเภอลำสนธิ
๙.   อำเภอท่าหลวง
๑๐. อำเภอโคกเจริญ
๑๑. อำเภอหนองม่วง

การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและการเจ็บป่วยด้วยโรคแลปโตสไปโรสิส


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ชื่อเรื่อง      การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและการเจ็บป่วย
                   ด้วยโรคแลปโตสไปโรสิส
ผู้สำรวจ     สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
ปีที่สำรวจ  ๒๕๕๙
.........................................

   สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมกับสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและการเจ็บป่วยด้วยโรคแลปโตสไปโรสิส มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและการเจ็บป่วยด้วยโรคแลปโตสไปโรสิส กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรกรในอำเภอโคกเจริญ และอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นประชากรที่มีฐานข้อมูลกับสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี รวมทั้งหมด จำนวน ๓๑,๘๗๘ ราย แยกเป็น เกษตรกรอำเภอโคกเจริญ จำนวน ๘,๕๔๒ ราย เกษตรกรอำเภอบ้านหมี่ จำนวน ๒๓,๓๓๗ ราย คิดเป็นกลุ่มตัวอย่างได้ ๓๙๕ ราย ระดับความคลาดเคลื่อนที่ ๐.๐๕ (คำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่) ดำเนินการสำรวจ ระหว่างวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ ใช้หลักสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล 

   ผลการสำรวจ
๑. ข้อมูลส่วนตัว ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้ตอบแบบสอบถามโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์จากพนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี จำนวน ๓๙๕ ชุด จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งหมด ๓๘๕ ราย คิดเป็น ร้อยละ ๙๗.๔๖ แยกเป็น
   ๑.๑) กลุ่มตัวอย่าง อำเภอโคกเจริญ จำนวน ๙๕ ราย คิดเป็น ร้อยละ ๒๔.๖๗ กลุ่มตัวอย่าง อำเภอบ้านหมี่ จำนวน ๒๙๐ ราย คิดเป็น ร้อยละ ๗๕.๓๓
   ๑.๒) เพศ ชาย จำนวน ๒๔๗ ราย คิดเป็น ร้อยละ ๖๔.๗ หญิง จำนวน ๑๓๖ ราย คิดเป็น ร้อยละ๓๕.๓
   ๑.๓) อายุ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม มีช่วงอายุตามลำดับ ดังนี้ มีอายุระหว่าง ๔๖ – ๕๕ ปี จำนวน ๑๓๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๔ รองลงมามีอายุระหว่าง ๕๖ – ๖๕ ปี จำนวน ๑๒๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๓ อายุระหว่าง ๓๖ – ๔๕ ปี จำนวน ๖๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๔ อายุ ๖๖ ปีขึ้นไป จำนวน ๓๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๒ อายุระหว่าง ๒๖ – ๓๕ ปี จำนวน ๑๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔.๙ และมีอายุระหว่าง ๑๘ – ๒๕ ปี จำนวน ๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๐.๘ 
   ๑.๔) การศึกษา ผู้ตอบแบบสอบถาม จบการศึกษาตามลำดับ ดังนี้ จบชั้นประถมศึกษา จำนวน ๒๕๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๘ จบชั้นมัธยมศึกษา จำนวน ๘๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๓ จบอนุปริญญา/ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส. ) จำนวน ๑๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕ จบปริญญาตรี จำนวน ๑๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓.๔ และไม่ได้ศึกษา จำนวน ๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.๘
   ๑.๕) อาชีพ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา จำนวน ๓๒๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๘รองลงมามีอาชีพทำไร่อ้อย ข้าวโพด หรือมันสำปะหลัง จำนวน ๑๑๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๕ อาชีพทำสวนผัก จำนวน ๔๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๙ อาชีพทำสวนผลไม้ จำนวน ๔๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๑ ทำอาชีพเกษตรอื่นๆ จำนวน ๑๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔.๒ และอาชีพปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ จำนวน ๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.๖

๒. ประวัติการเจ็บป่วย 
   ผู้ตอบแบบสอบถามมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังตามลำดับ ดังต่อไปนี้ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๔๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๖ รองลงมาป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน ๒๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๘ โรคอ้วน จำนวน ๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๗ โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ จำนวน ๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๙.๕ โรคไต จำนวน ๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖ โรคตับเรื้อรัง จำนวน ๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔.๘ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง จำนวน ๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓.๖ และโรคมะเร็ง จำนวน ๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒.๔ ของผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรังทั้งหมด

๓. อาการหลังจากการใช้หรือสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
   ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่พบว่ามีอาการหลังจากการใช้หรือสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน ๘๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๖ รองลงมาผู้ตอบแบบสอบถามไม่มีอาการใดๆ หลังจากการใช้หรือสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน ๓๐๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๔

๔. อาการที่พบ
   ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอาการหลังจากการใช้หรือสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีอาการเวียนศรีษะ จำนวน ๔๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๕ ปวดศรีษะ จำนวน ๓๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๙ แสบจมูก จำนวน ๓๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๗ อ่อนเพลีย จำนวน ๒๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๘ ปวดแสบร้อน จำนวน ๒๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๓ คันตามผิวหนัง ผิวแห้ง ผิวแตก จำนวน ๒๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๑ เจ็บคอ คอแห้ง/ ตาแดง แสบตา ตาคัน จำนวน ๒๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๗ นอนหลับไม่สนิท จำนวน ๑๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๒ ผื่นคันที่ผิวหนัง/ ตุ่มพุพอง จำนวน ๑๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๑ เหงื่อออก จำนวน ๑๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๓ คลื่นไส้ อาเจียน จำนวน ๑๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๖ ไอ จำนวน ๑๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๖ หายใจติดขัด/ ใจสั่น/ ตาพร่ามัว จำนวน ๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๙.๙ น้ำมูกไหล จำนวน ๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๘.๖ เจ็บหน้าอก/ แน่นหน้าอก จำนวน ๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๗.๔ น้ำตาไหล/ ปวดท้อง/ ท้องเสีย จำนวน ๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖.๒ น้ำลายไหล/ กล้ามเนื้ออ่อนล้า/ เป็นตะคริว/ มือสั่น จำนวน ๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔.๙ และมีอาการเดินโซเซ จำนวน ๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.๒

๕. ลักษณะการทำการเกษตร
   ผู้ตอบแบบสอบถามใช้สารเคมีในการทำการเกษตร จำนวน ๒๑๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๙ รองลงมาทำการเกษตรแบบผสมผสานใช้ทั้งสารเคมีและเกษตรอินทรีย์ จำนวน ๑๕๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๑ ทำการเกษตรอินทรีย์ จำนวน ๑๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓.๙

๖. การเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
   ๖.๑) ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ผสมสารเคมีเอง จำนวน ๒๓๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๐๗
   ๖.๒) ผู้ตอบแบบสอบถามการอยู่ในบริเวณที่มีการฉีดพ่น หรือ สัมผัสผักผลไม้ที่ฉีดพ่น เช่น เก็บเกี่ยว มัดกำ ห่อ บรรจุ จำนวน ๑๖๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๘๙
   ๖.๓) ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ฉีดพ่นสารเคมีด้วยตนเอง จำนวน ๒๓๓ ราย คิดเป็นร้อยละ๖๐.๕๑
   ๖.๔) ผู้ตอบแบบสอบถามทำการรับจ้างฉีดพ่นให้แก่เกษตรกรรายอื่นด้วย จำนวน ๔๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๖๘

๗. การกำจัดแมลง
   ผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงทุกครั้ง จำนวน ๑๘๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๓ รองลงมาใช้สารเคมีเพื่อกำจัดแมลงเป็นบางครั้ง จำนวน ๑๔๕ คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๙ และผู้ตอบแบบสอบถามไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง จำนวน ๔๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๘

๘. การกำจัดวัชพืช
   ผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชทุกครั้ง จำนวน ๑๙๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๑ รองลงมาใช้สารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืชเป็นบางครั้ง จำนวน ๑๔๕ คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๖ และผู้ตอบแบบสอบถามไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช จำนวน ๔๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๓

๙. การใช้ถังบรรจุสารเคมีที่รั่วซึมหรือปิดไม่สนิทมีการรั่วซึมในการฉีดพ่
   ผู้ตอบแบบสอบถามไม่ใช้ถังบรรจุสารเคมีที่ชำรุด จำนวน ๓๑๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๘๑ รองลงมามีการใช้เป็นบางครั้ง จำนวน ๕๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๘ และไม่ใช้ถังบรรจุสารเคมีที่ชำรุด จำนวน ๑๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔.๒

๑๐. การสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในขณะทำงาน
   จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีการสัมผัสสารเคมีระหว่างการปฏิบัติงาน จำนวน ๒๒๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๖ รองลงมามีการสัมผัสสารเคมีเป็นบางครั้ง จำนวน ๑๒๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๘ และไม่มีการสัมผัสสารเคมีเลย จำนวน ๓๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๙.๖

๑๑. ในการปฏิบัติงานพบว่าเสื้อผ้าของผู้ปฏิบัติงานเปียกชุ่มสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
   จากการสำรวจพบว่าในการปฏิบัติงานเสื้อผ้าเปียกชุ่มด้วยสารเคมีเป็นบางครั้ง จำนวน ๑๗๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๔.๘ รองลงมาเสื้อผ้าไม่เปียกชุ่มด้วยสารเคมี จำนวน ๑๕๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๓ และไม่เคยเปียกชุ่มด้วยสารเคมี จำนวน ๖๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๙

๑๒. การปฏิบัติตัวหลังจากที่มีการใช้สารเคมี
   จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังจาการปฏิบัติงานแล้วเสร็จ จำนวน ๓๐๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๔ รองลงมาอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายเป็นบางครั้ง จำนวน ๕๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๘ และไม่อาบน้ำทันที จำนวน ๓๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๗.๘

๑๓. การดื่มเหล้า/ เบียร์/ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในบริเวณที่ปฏิบัติงาน
   จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณที่ปฏิบัติงานจำนวน ๓๒๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๙ รองลงมามีการดื่มเหล้าฯ ทุกครั้ง จำนวน ๕๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๓ และมีการดื่มเหล้าฯ เป็นบางครั้ง จำนวน ๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๐.๘

๑๔. การใช้สารเคมีของเกษตรกร
   จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช จำนวน ๓๕๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๓๓ ของผู้ใช้สารเคมี รองลงมาใช้กำจัดแมลง จำนวน ๓๕๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๙๔ ของผู้ใช้สารเคมี ใช้กำจัดเชื้อรา จำนวน ๒๘๒ คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๒๗ ของผู้ใช้สารเคมี และใช้งานอื่นๆ จำนวน ๕๖ คิดเป็นร้อยละ ๔.๔๔ ของผู้ใช้สารเคมี

๑๕. การสัมผัสหรือใช้สารเคมีในระยะรอบเดือนที่ผ่านมา
   จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการสัมผัสหรือใช้สารเคมีเดือนละ ๒ ครั้ง จำนวน ๑๖๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๘ รองลงมาใช้สารเคมีนานๆ ครั้ง จำนวน ๑๑๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๙ ใช้สารเคมีสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง จำนวน ๖๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๖ และใช้สารเคมีเดือนละ ๑ ครั้ง จำนวน ๓๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๔

๑๖. การใช้เวลาสัมผัสหรือใช้สารเคมีในแต่ละครั้ง
   จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้สารเคมีโดยมีระยะเวลามากกว่า ๑ ชั่วโมง แต่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมงจำนวน ๑๘๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๗ รองลงมาใช้สารเคมีมากกว่า ๓ ชั่วโมง จำนวน ๑๓๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๒ และมีการใช้สารเคมีน้อยกว่า ๑ ชั่วโมง จำนวน ๕๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๒ 

 ๑๗. ระยะเวลาที่สัมผัสหรือใช้สารเคมี
   จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้สารเคมีมาแล้วมากกว่า ๓ ปี จำนวน ๒๙๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๒ รองลงมามีการใช้สารเคมีน้อยกว่า ๑ ปี จำนวน ๔๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๑ และมีการใช้สารเคมีมากว่า ๑ ปี แต่ไม่เกิน ๓ ปี จำนวน ๓๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๘.๘

๑๘. สาเหตุสำคัญที่ท่านเลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
   จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ศึกษาหาข้อมูลและตัดสินใจเอง จำนวน ๑๙๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๑ รองลงมาได้รับคำแนะนำจากร้านขายสารเคมี จำนวน ๙๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๓ เพื่อนบ้านแนะนำ จำนวน ๓๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๘.๑ และอื่นๆ จำนวน ๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๐.๓๑

๑๙. การรักษาตัว เมื่อมีอาการเจ็บป่วยจากการสัมผัสหรือใช้สารเคมี
   จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน ๑๘๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๒ รองลงมาเกษตรกรซื้อยามาทานเอง จำนวน ๑๖๓ คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๗ และปล่อยให้หายเอง จำนวน ๓๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๙.๒

๒๐. พฤติกรรมการใส่รองเท้าบูทในการปฏิบัติงาน
   จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใส่รองเท้าบูทในการปฏิบัติงานเป็นบางครั้ง จำนวน ๑๕๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๑ รองลงมา ใส่รองเท้าบูททุกครั้งที่ปฏิบัติงาน จำนวน ๑๑๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๕ เกษตรกรมีรองเท้าบูทแต่ไม่เคยใส่เลย จำนวน ๕๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๑ และไม่มีรองเท้าบูทและไม่เคยใส่เลย จำนวน ๕๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๓

๒๑. สาเหตุที่ไม่สวมใส่รองเท้าบูท
   จากการสำรวจพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าการใส่รองเท้าบูทนั้นขาดความคล่องตัว เทอะทะ เลนดูด จำนวน ๒๙๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๒๗ ของสาเหตุ รองลงมามีความเห็นว่ารองเท้าบูทมีน้ำหนักมาก พื้นแข็ง จำนวน ๒๘๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๖๙ ของสาเหตุ ใส่แล้วร้อน อบ คัน ไม่ซับเหงื่อ จำนวน ๒๖๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๕๕ ของสาเหตุ รองเท้าบูทไม่มีคุณภาพ ขาดง่าย น้ำซึมเข้า ถูกหอยหรือของมีคมบาด จำนวน ๑๔๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๔ ของสาเหตุ และรองเท้าบูทมีราคาแพง สิ้นเปลือง จำนวน ๑๔๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๔ ของสาเหตุ

๒๒. การตัดสินใจซื้อรองเท้าบูทมาใช้ หากมีรองเท้าบูทคุณภาพดี ราคาถูกมาจำหน่ายในชุมชน
   จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะไม่ซื้อจำนวน ๒๐๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๗ รองลงมาผู้ตอบแบบสอบถามต้องการซื้อรองเท้าบูทมาใช้ จำนวน ๑๘๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๓
............................................

สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
      ๒๕๕๙     

8 เมษายน 2559

การฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล

   เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๙ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สภาเกษตรกรฯ และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี จัดฝึกอบรม "วิทยากรกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล จังหวัดลพบุรี" โดยมีนายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมบรรยายให้ความรู้ สร้างความเข้าให้แก่ผู้นำเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งในการจัดอบรมดังกล่าว มีหัวข้อบรรยาย ได้แก่
  ๑) หลักการ แนวคิด กระบวนการ และวิธีการจัดทำแผนฯ
  ๒) เทคนิคในการจัดทำแผนฯ การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ การประเมินผล
  ๓) การเขียนและเสนอโครงการ
  ๔) การฝึกปฎิบัติในการจัดทำแผน
  ๕) การตอบข้อซักถาม การมอบหมายงาน
มีวิทยากรกระบวนการผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน ๑๑๗ คน