สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์: ๐๓๖-๗๗๖๑๖๒

11 พฤษภาคม 2556

การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพืชพลังงาน - ทิศทางเกษตร









        ผศ.ดร.กนกศักดิ์ เอี่ยมโอภาส หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหา วิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่าการผลิตไฟฟ้าที่มีศักยภาพสูงเหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งมีพื้นฐานเป็นประเทศเกษตรกรรม คือการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพืชพลังงาน
       ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีที่นำมากำ จัดขยะอินทรีย์มีวิธีกำจัดอยู่ 2 แบบ คือการนำไปหมักทำปุ๋ย และการนำไปหมักทำก๊าซชีวภาพ ในกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ เป็นการนำสารอินทรีย์ไปหมักในถังหมักแบบปิด ในกระบวนการหมักสารอินทรีย์จะถูกย่อยสลาย และได้ก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นก๊าซมีเทน ประมาณ 50-60% ก๊าซมีเทนนี้เป็นก๊าซชนิดเดียวกันกับก๊าซธรรมชาติซึ่งมีองค์ประกอบหลักเป็นก๊าซมีเทนประมาณ 70-80% ขึ้นอยู่กับแหล่งก๊าซธรรมชาติ ดังนั้นก๊าซชีวภาพจึงเป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่สามารถนำไปเดินชุดเครื่องยนต์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ตัวอย่างของก๊าซ ชีวภาพที่ใช้ผลิตไฟฟ้ากันอย่างแพร่หลายแล้วคือก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรต่าง ๆ ซึ่งพื้นฐานของการเกิดก๊าซชีวภาพคือการย่อยสลายของอินทรียวัตถุในกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ
        จากการศึกษาวิจัยด้านกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ เพื่อศึกษาศักยภาพการเกิดก๊าซชีวภาพของขยะอินทรีย์ และเศษวัสดุทางการเกษตรของประเทศไทยที่มีมาประมาณ 10 ปี โดยการศึกษาวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป และเป็นการศึกษาร่วมกับนักวิจัยจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พบว่าศักยภาพของการผลิตพลังงานทดแทนจากพืชต่าง ๆ สามารถทำได้ และจากการศึกษาดูงานวิจัยในประเทศเยอรมนี เมื่อประมาณ 7-8 ปีที่แล้ว ที่นั่นมีการส่งเสริมการปลูกพืชโตเร็ว เช่น หญ้า เพื่อใช้หมักทำก๊าซชีวภาพ เนื่องจากในประเทศเยอรมนี มีการกำจัดขยะอินทรีย์ด้วยกระบวนการหมักกันอย่างแพร่หลาย และมีจำนวนโรงไฟฟ้าประเภทนี้มากกว่า 5,000 โรง
        ปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งเสริมการผลิตพลังงานจากหญ้าเนเปียร์ หรือที่เรียกกันว่าหญ้าเลี้ยงช้าง โดยส่งเสริมการผลิตเพื่อเลี้ยงสัตว์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี งานวิจัยที่ดำเนินการจะเน้นการศึกษาปริมาณก๊าซชีวภาพสำหรับพืชต่าง ๆ ของประเทศไทย เช่น ต้นข้าวโพดฝักอ่อนซึ่งหักฝักไปขายแล้ว ใบปาล์ม ต้นกล้วย ผักตบชวา และเศษพืชอื่น ๆ รวมทั้ง หญ้าเนเปียร์ด้วย พร้อมกันนี้ยังมีการศึกษาวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อนำไปใช้งานเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1-2 เมกะวัตต์ ซึ่งได้รับความร่วมมือสนับ สนุนข้อมูลเทคโนโลยีจากเยอรมนี
        ในขณะเดียวกันก็ได้มีการศึกษาด้านการปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตในแปลงเพาะปลูกขนาดใหญ่โดยร่วมมือกับผู้ทำวิจัยซึ่งเป็นเกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี จนได้ข้อมูลที่ มั่นใจว่าการบริหารจัดการโครงการโรงไฟฟ้า จากหญ้าเนเปียร์จะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

ภาพและข่าวจาก: เดลีนิวส์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2556 http://www.dailynews.co.th/agriculture/203256