


เวทีจัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดนโยบายฯ และสร้างการรับรู้แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2568-2573
วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ หมู่ 6 ต.มะนาวหวาน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีได้ดำเนินโครงการจัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาเกษตรกรและการพัฒนาเกษตรกรรม พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2568-2573
การจัดเวทีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
โดยการจัดทำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเกษตรกรรม
ผ่านการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและความต้องการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่จังหวัด 3
ประเด็นสำคัญ ได้แก่
1.การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
ตามมาตรา 11(1)
2.การจัดสวัสดิการสำหรับเกษตรกร
ตามมาตรา 11(6)
3.การปกป้องสินค้าเกษตรไทยจากสินค้าเกษตรต่างประเทศ
ตามมาตรา 11(9) โดยการประชุมครั้งนี้มีเกษตรกรจากพื้นที่นอกเขตชลประทาน
เข้าร่วมกว่า 40 ราย
ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอมุมมองเกี่ยวกับปัญหาที่เกษตรกรในพื้นที่ต้องเผชิญ
พร้อมทั้งร่วมเสนอแนวทางและวิธีการแก้ไขเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2
พ.ศ. 2568-2573 ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเกษตร
รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานในภาคเกษตรให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรไทย
ร่วมการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและแปรรูปพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม
2568 เวลา 11.00 น.
นายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยนายฤทธิรุทร
เขตรําพันธ์ รักษาการหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจจังหวัดลพบุรี
ร่วมเปิดการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและแปรรูปพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
ภายใต้ "โครงการพัฒนาคลัสเตอร์สมุนไพรดูแลสุขภาพครบวงจร"
ตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดลพบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เพื่อขับเคลื่อนโครงการในกิจกรรมการฝึกอบรมส่งเสริมองค์ความรู้ในการผลิตและแปรรูปพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
จำนวน 1 วัน ให้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100
ราย ได้แก่ เกษตรกรผู้ผลิตพืชสมุนไพรและเครือข่ายเกษตรทฤษฎี
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้การรวมกลุ่มผลิตพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพให้มีความเข็มแข็งต่อไป
โดยนายประยูร ศิริวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมฯ
มีหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี
เข้าร่วมการเปิดการฝึกอบรมฯ ณ หอประชุมกองทองมา ชินวงศ์ วัดกัทลีพนาราม
(วัดบ้านกล้วย) ตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
เวทีจัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดนโยบายฯ และสร้างการรับรู้แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2568-2573
วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ วัดหนองปลาดุก ตำบลบางลี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีได้ดำเนินโครงการจัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาเกษตรกรและการพัฒนาเกษตรกรรม พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2568-2573การจัดเวทีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
โดยการจัดทำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเกษตรกรรม ผ่านการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและความต้องการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่จังหวัด
3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
1. การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม ตามมาตรา 11(1)
2. การจัดสวัสดิการสำหรับเกษตรกร ตามมาตรา
11(6) 3. การปกป้องสินค้าเกษตรไทยจากสินค้าเกษตรต่างประเทศ ตามมาตรา 11(9)
โดยการประชุมครั้งนี้มีเกษตรกรจากพื้นที่ในเขตชลประทาน เข้าร่วมกว่า
100 ราย
ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอมุมมองเกี่ยวกับปัญหาที่เกษตรกรในพื้นที่ต้องเผชิญ
พร้อมทั้งร่วมเสนอแนวทางและวิธีการแก้ไขเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2
พ.ศ. 2568-2573 ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเกษตร
รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานในภาคเกษตรให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรไทย
สกจ.ลพบุรี ลงพื้นที่รับฟังปัญหา ความต้องการ เพื่อจัดทำรายงานการศึกษา
สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาความต้องการ
และประชาสัมพันธ์ชี้แจงแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่
2 พ.ศ. 2568
- 2573 รวมถึงปรับปรุงฐานข้อมูลองค์กรเกษตรกรที่เคยขึ้นทะเบียนกับสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
ให้เป็นปัจจุบัน พร้อมเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับการศึกษา ประเด็นปัญหา อุปสรรค การพัฒนาภาคการเกษตรในพื้นที่
ซึ่งครอบคลุม 3 ประเด็น ได้แก่
1. ด้านเกษตรอุตสาหกรรมชุมชน
2. ด้านการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติภาคเกษตรกรรม
3.
ด้านการประกันความเสี่ยงของผลผลิตทางการเกษตรซึ่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมในครั้งนี้จะถูกนำไปวิเคราะห์และจัดทำรายงานการศึกษา เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแผนงานต่างๆ
ในอนาคตต่อไป
จังหวัดลพบุรีจัดพิธีรับมอบข้าวสาร
ตามโครงการสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสภาเกษตรกรจังหวัด รวมใจภักดิ์
ถวายความจงรักภักดีน้อมเกล้า ฯ
ถวายข้าวสารเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
วันที่ 2 ธันวาคม 2567 เวลา 11.00 น.
ณ ห้องประชุมศรีฟ้า 1 ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 ตำบลป่าตาล
อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี นายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
พร้อมสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี และพนักงานสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมดำเนินโครงการสภาเกษตรกรแห่งชาติ
และสภาเกษตรกรจังหวัด รวมใจภักดิ์ ถวายความจงรักภักดีน้อมเกล้า ฯ ถวายข้าวสาร
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมี นายอำพล
อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
ประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดลพบุรี
เป็นประธานในพิธีรับมอบข้าวสาร
โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติ
พร้อมด้วยสภาเกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัด ได้พร้อมใจกันจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติ
"รวมใจภักดิ์ ถวายความจงรักภักดี"
โดยน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายข้าวสารจำนวน 73 ตัน
เพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับข้าวสารที่จะน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายในครั้งนี้
เป็นผลผลิตที่เกิดจากน้ำพระทัยอันเปี่ยมด้วยพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ในการสืบสานรักษาและต่อยอดโครงการพระราชดำริด้านการเกษตรในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันเป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรทั่วหล้า
ในส่วนจังหวัดลพบุรี ได้รับข้าวสาร
จำนวน 2,100
กิโลกรัม จากสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ชมรมโรงสีข้าวจังหวัดลพบุรี
และเกษตรกร จึงได้มอบข้าวสารจำนวนดังกล่าวให้โรงเรียนราชประชานุเคราะห์
33 อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี จำนวน 210 ถุง หรือ 1,050 กิโลกรัม
และในส่วนที่เหลือจะส่งมอบให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ฯ
โดยสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เป็นผู้ดำเนินการ
เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยและโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ต่อไป
สภจ.ลพบุรี ร่วมประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุง โครงการส่งน้ำฯ เริงราง
สืบเนื่องจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียม และ เริงราง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเจ้าพระยาใหญ่ ประเภทส่งน้ำและระบายน้ำ โดยใช้น้ำต้นทุนจากเขื่อนเจ้าพระยาในการส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานไปตามคลองชลประทาน ในปี พ.ศ. 2560 กรมชลประทาน ได้ทำการศึกษาทบทวนความเหมาะสมโครงการปรับปรุงระบบชลประทานพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง พบว่า การปรับปรุง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียมและเริงราง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทานของโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ่งปัจจุบัน ทั้ง 2 โครงการฯ มีอายุการใช้งานมาอย่างยาวนานบางส่วนชำรุดเสียหาย
ทำให้ระบบชลประทานมีประสิทธิภาพการใช้งานลดลงแม้ว่าจะมีการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารชลประทานให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้บางส่วน
แต่ยังไม่สามารถปรับปรุงให้ได้ประสิทธิภาพดังเดิมทั้งโครงการ
กรมชลประทาน ได้มีแผนงานปรับปรุงโครงการที่สำคัญ ประกอบด้วย แผนการปรับปรุงระบบคลองส่งน้ำและระบบคลองระบายน้ำ
โดยการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารชลประทาน 182 แห่ง ถนนคันคลอง 139.39 กิโลเมตร คลองส่งน้ำ 90.45 กิโลเมตร ขุดลอกตะกอนคลองระบายน้ำรวม 2.86 ล้าน ลบ.ม. ซ่อมแซมถนนคันคลองระบาย 1.48 ล้าน ตร.ม.
แผนบรรเทาอุทกภัยและการระบายน้ำ การปรับปรุง ปตร.กลางบางคู้ ปตร.บางเพลิง
รวมทั้งการปรับปรุงขุดลอกคลองระบายสายสำคัญในพื้นที่ อาทิเช่น
คลองระบายใหญ่เริงราง, คลองระบายใหญ่มหาราช, คลองระบายใหญ่ชัยนาท-ป่าสัก3 ฯ เป็นต้น
แผนการปรับปรุงแก้มลิงที่สำคัญในพื้นที่ 6 แห่ง ประกอบด้วย หนองช้างทะลุ
หนองสมอใส หนองน้ำพล แก้มลิงบางลี่ หนองกระพุ่ม และบึงหางสิงห์ รวมพื้นที่ 533.42 ไร่
เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง แผนพัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำท่าวุ้ง
ด้วยการปรับปรุงคันกั้นน้ำคลองระบายสายใหญ่-ชัยนาทป่าสัก3 ความยาว 15.31 กิโลเมตร คลองระบาย1ซ้ายลพบุรี 8.70 กิโลเมตร คลองระบายใหญ่เริงราง 23 กิโลเมตร คลองตาเมฆ 7.60 กิโลเมตร และก่อสร้างอาคารประกอบที่สำคัญ
ดังนี้ ปรับปรุง ปตร.กลางคลอง ร.1 ซ้ายลพบุรี ปรับปรุงไซฟอนปลายคลอง ร.1 ซ้ายลพบุรี ก่อสร้างท่อระบายน้ำ 35 แห่ง และปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ 1 แห่ง
ประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
วันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี อนุมัติเห็นชอบให้สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี จัดประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ตำบลโพตลาดแก้ว อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี โดยนายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุม พร้อมสมาชิกสภาเกษตรกร จังหวัดลพบุรี และพนักงาน เข้าร่วมประชุมดังกล่าวฯ โดยมีวาระเพื่อพิจารณาดังนี้ 1. เรื่อง ร่างแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25682. เรื่อง ร่างแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 3. เรื่อง การจัดทำข้อเสนอเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 4. เรื่อง การสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 5. เรื่อง การขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรรม พ.ศ. 2568 – 2573 ในระดับจังหวัด 6. เรื่อง การสื่อสารงานสภาเกษตรกรสู่สาธารณะ 7. เรื่อง การมอบหมายประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ให้ดำเนินกิจการแทน สภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เพื่อความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
การประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดลพบุรี (อ.พ.ก.) ครั้งที่ 1/2567
วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น.
นายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี มอบหมาย นายประทีป
คัมภีรทัศน์ รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี คนที่ 1
เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดลพบุรี
(อ.พ.ก.) ครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมทานตะวัน ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดลพบุรี
โดยนายวชิระ เกตุพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานการประชุม
เพื่อพิจารณาทบทวนแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด (พ.ศ. 2566-2570)
ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569
เวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดลพบุรี ปี 2567
วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00
น. นายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี มอบหมายให้นายฤทธิรุทร
เขตรำพรรณ หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร รักษาการแทนหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
พร้อมด้วยนายจเด็จ เจือจันทร์ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
เข้าร่วมการประชุมเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดลพบุรี ปี 2567 ณ ห้องประชุม 24/206 อาคารรัตนเทพสตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีเป็นประธานการประชุมฯ
การประชุมดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชื่นชม
และเสริมพลังในการดำเนินการเสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหารสู่ความยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา
เพื่อให้เกิดการบูรณาการ เชื่อมร้อย และสานพลังกันของภาคีเครือข่ายทุกระดับ
ตั้งแต่ ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด เขตสุขภาพจนถึงระดับนโยบาย ภายใต้หัวข้อ
“เรื่องดีที่อยากเล่าในการเสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารสู่ความยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา”