สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์: ๐๓๖-๗๗๖๑๖๒

30 มิถุนายน 2565

สกจ.ลพบุรี บูรณาการ 5 หน่วยงาน วิพากษ์แผนและบูรณาการพัฒนาอาชีพให้เกษตรกร

วันที่ 28 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชี อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชี  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะค่า สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดลพบุรี  จัดการประชุมการประชุมวิพากษ์แผนและบูรณาการพัฒนาอาชีพให้เกษตรกร ภายใต้ โครงการจัดทำแผนพัฒนาอาชีพในระดับตำบล ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อพิจารณาร่างแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร และเป็นไปเพื่อเกษตรกรอย่างแท้จริง 








23 มิถุนายน 2565

หัวหน้า สกจ.ลพบุรี ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ครั้งที่ 5/2565 

วันที่ 22 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกจังหวัดลพบุรี อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีนายสำอาง แก้วประดับ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกจังหวัดลพบุรี ในฐานะ อนุกรรมการจังหวัด เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดลพบุรี ครั้งที่ 5/2565 โดยมี นายกิตติศักดิ์ ศุภพงษ์ ประธานอนุกรรมการและเป็นประธานการประชุมฯ เพื่อพิจารณา 4 เรื่อง ดังนี้ 1) การขึ้นทะเบียนเกษตรกร (หนี้) จำนวน 14 ราย 40 บัญชี เป็นเงิน 15,244,351.52 2) การจัดตั้งองค์กรใหม่ 3) การให้ความเห็นชอบการลาออกจากสมาชิกองค์กรเกษตรกร 4) แผนการปฏิบัติงานสำนักงาน








3 มิถุนายน 2565

สกจ.ลพบุรี ดำเนินการศึกษาความรู้การลดต้นทุนด้านการเกษตร

วันที่ 2 มิถุนายน 2565 นายฤทธิรุทร เขตรำพรรณ หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร พร้อมพนักงานสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ลงพื้นที่พบแกนนำเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ตำบลทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี เพื่อศึกษากระบวนการลดต้นทุนการผลิตข้าวนาปี พบว่า กลุ่มเกษตรกรเตรียมดินโดยการไถกลบทดแทนการเผาเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ซึ่งลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ได้ร้อยละ 23 และการปรับเปลี่ยนจากทำนาแบบหว่านสำรวยเป็นการทำนาแบบหยอด โดยการใช้เครื่องหยอดเมล็ดข้าว 2 รูปแบบคือ 1) เครื่องหยอดขนาด 4 แถว สำหรับรถไถเดินตาม 2) เครื่องหยอดขนาด 8 แถว สำหรับรถแทรกเตอร์ สามารถลดต้นทุนการใช้เมล็ดพันธุ์ได้ถึงร้อยละ 58 จากเดิมใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ เหลือเพียง 11-12 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 430-560 บาท/ไร่


นายจุล อินทร์วิลัย กำนันตำบลทุ่งท่าช้าง ประธานกลุ่มเกษตรกร ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอสระโบสถ์ ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ กล่าวถึงการลดต้นทุนข้าวของกลุ่ม เกิดความร่วมมือของกลุ่มเกษตรกรและการสนับสนุนจากภาครัฐ ขับเคลื่อนผ่านแนวทางการลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม การใส่ใจสิ่งแวดล้อม และหลักของเกษตรกรรมเพื่ออาหารปลอดภัย ดังที่กล่าวมาจึงเป็นแนวทางและปัจจัยแห่งความสำเร็จ เป็นองค์ความรู้และเผยแพร่ให้เกษตรกรผู้ที่สนใจนำไปปรับใช้






2 มิถุนายน 2565

สกจ.ลพบุรี ลงพื้นที่รับฟังปัญหาเกษตรกร

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นายสำอาง แก้วประดับ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี พร้อมพนักงานและเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่พบเกษตรกรใน ต.หนองผักแว่น อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี รับฟังปัญหาและความต้องการจากเกษตรกร พร้อมบรรยายความรู้ เรื่อง การใช้งานและการบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ เพื่อการเกษตร โดยเกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการเกษตร ซึ่งประเด็นปัญหาของเกษตรกร สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี จะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรต่อไป