

ประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ครั้งที่ 5 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
วันที่ 25 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ตำบลโพตลาดแก้ว อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี นายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ครั้งที่ 5 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี และพนักงานฯ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง วาระสำคัญที่นำเสนอและพิจารณาในการประชุม ได้แก่1. เรื่อง ข้อเสนอเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม 1) แนวทางเชิงนโยบายการบริหารจัดการของเหลือภาคเกษตร เพื่อการเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษา : จังหวัดลพบุรี 2) แนวทางนโยบายการบูรณาการยกระดับความยั่งยืนห่วงโซ่มันสำปะหลัง ผ่านกลไกตลาด เทคโนโลยีแปรรูป และการเสริมศักยภาพเกษตรกร กรณีศึกษา : จังหวัดลพบุรี 3) การสร้างความเข้มแข็งเกษตรกรด้านประมง และการรักษาเสถียรภาพด้านประมงภายใต้สถานการณ์การค้าเสรี กรณีศึกษา : จังหวัดลพบุรี 2. เรื่อง ปัญหาและความต้องการขององค์กรเกษตรกรเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร 3. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน เพื่อเลื่อนเงินเดือนของหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 4. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีประเภทผู้แทนเกษตรกรแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2568 (กรณีเลือกตามบัญชีผู้มีสิทธิรับเลือกหมดบัญชี
ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดลพบุรี (อ.พ.ก.) ครั้งที่ 1/2568
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม
2568 เวลา
13.30 น.
นายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด
จังหวัดลพบุรี (อ.พ.ก.) ครั้งที่ 1/2568
ณ ห้องประชุมทานตะวัน
ศาลากลางจังหวัดลพบุรี โดยมีนายประยูร ศิริวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
เป็นประธานการประชุม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายและแนวทางการพัฒนาการเกษตรของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัด
พร้อมทั้งพิจารณาติดตามการปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดลพบุรี ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.2568 ไตรมาสที่
2
สภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมโครงการ “คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม
2568 เวลา 09.30 น.
นายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี มอบหมาย นายจำเนียร
ศักดิ์ไทยเจริญชัย สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี อำเภอโคกเจริญ พร้อมพนักงานสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
เข้าร่วมโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาส 3 ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2568 ณ วัดสามัคคีประชาราม หมู่ที่ 3 ตำบลยางราก
อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี พิธีเปิดได้รับเกียรติจาก
นายประยูร ศิริวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในพิธี ในการนี้ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้นำ
ปุ๋ยอินทรีย์ มาแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรและผู้เข้าร่วมงานพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร และการรับฟังปัญหาและความต้องการของเกษตรกร เพื่อนำข้อมูลไปจัดทำ
ข้อเสนอเชิงนโยบายและกำหนดแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางการเกษตรต่อไป
ประชุมสัมมนาเชื่อมโยงสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าสู่สถานพยาบาล สถานศึกษา และสถานประกอบการร้านอาหาร ฯ
วันศุกร์ที่ 18 เมษายน 2568 เวลา 09.00 น. นายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชื่อมโยงสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าสู่สถานพยาบาล สถานศึกษา และสถานประกอบการร้านอาหาร ณ ห้องประชุมสบายอารมณ์ โรงแรมสบายโฮเต็ล อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
การประชุมจัดขึ้นภายใต้โครงการส่งเสริมอัตลักษณ์เกษตรอินทรีย์ภายในจังหวัดลพบุรี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1
ภายใต้กิจกรรมการประชุมสัมมนาเชื่อมโยงสินค้าเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตอาหารอินทรีย์ของจังหวัดลพบุรี ให้ปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อุปทานจากเกษตรกร
ผู้ผลิต สู่ผู้บริโภคนอกจากนี้
ยังมุ่งยกระดับความปลอดภัยด้านอาหารของจังหวัดลพบุรีให้ได้คุณภาพมาตรฐาน
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพ พร้อมรองรับการแข่งขันในตลาด โดยมีนางสาวสายสุณี
ปั้นพงษ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี เป็นประธานในการประชุมครั้งนี
สภาเกษตรกรลพบุรี ร่วมปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี พัฒนาองค์ความรู้ผู้เลี้ยงไก่ด้วยนวัตกรรมท้องถิ่น วันที่ 10–11 เมษายน 2568
สภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ภายใต้การนำของนายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมมือกับ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการ สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยและสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีคุณภาพสู่เศรษฐกิจฐานรากด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากการวิจัย ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลบางขาม อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
หลักสูตรการอบรม : การผลิตอาหารสัตว์ในชุมชนด้วยวัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่นและนวัตกรรมอาหารสัตว์
เป้าหมาย : ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอาหารสัตว์จากวัตถุดิบในท้องถิ่น รวมถึงการฝึกปฏิบัติการผลิตอาหารสัตว์จริงๆ สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่
การอบรมในครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 6 โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ในอำเภอบ้านหมี่เข้าร่วมกว่า 20 ราย พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือ จากนายประยูร จันทร์อ่อน เกษตรกรดีเด่น และอาจารย์จากสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถ่ายทอดองค์ความรู้ในวันนี้
เวทีจัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดนโยบายฯ และสร้างการรับรู้แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2568-2573
วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ หมู่ 6 ต.มะนาวหวาน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีได้ดำเนินโครงการจัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาเกษตรกรและการพัฒนาเกษตรกรรม พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2568-2573
การจัดเวทีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
โดยการจัดทำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเกษตรกรรม
ผ่านการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและความต้องการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่จังหวัด 3
ประเด็นสำคัญ ได้แก่
1.การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
ตามมาตรา 11(1)
2.การจัดสวัสดิการสำหรับเกษตรกร
ตามมาตรา 11(6)
3.การปกป้องสินค้าเกษตรไทยจากสินค้าเกษตรต่างประเทศ
ตามมาตรา 11(9) โดยการประชุมครั้งนี้มีเกษตรกรจากพื้นที่นอกเขตชลประทาน
เข้าร่วมกว่า 40 ราย
ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอมุมมองเกี่ยวกับปัญหาที่เกษตรกรในพื้นที่ต้องเผชิญ
พร้อมทั้งร่วมเสนอแนวทางและวิธีการแก้ไขเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2
พ.ศ. 2568-2573 ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเกษตร
รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานในภาคเกษตรให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรไทย
ร่วมการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและแปรรูปพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม
2568 เวลา 11.00 น.
นายกิตติพล ตะพานแก้ว ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยนายฤทธิรุทร
เขตรําพันธ์ รักษาการหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจจังหวัดลพบุรี
ร่วมเปิดการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและแปรรูปพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
ภายใต้ "โครงการพัฒนาคลัสเตอร์สมุนไพรดูแลสุขภาพครบวงจร"
ตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดลพบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เพื่อขับเคลื่อนโครงการในกิจกรรมการฝึกอบรมส่งเสริมองค์ความรู้ในการผลิตและแปรรูปพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
จำนวน 1 วัน ให้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100
ราย ได้แก่ เกษตรกรผู้ผลิตพืชสมุนไพรและเครือข่ายเกษตรทฤษฎี
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้การรวมกลุ่มผลิตพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพให้มีความเข็มแข็งต่อไป
โดยนายประยูร ศิริวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมฯ
มีหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี
เข้าร่วมการเปิดการฝึกอบรมฯ ณ หอประชุมกองทองมา ชินวงศ์ วัดกัทลีพนาราม
(วัดบ้านกล้วย) ตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
เวทีจัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดนโยบายฯ และสร้างการรับรู้แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2568-2573
วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ วัดหนองปลาดุก ตำบลบางลี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรีได้ดำเนินโครงการจัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาเกษตรกรและการพัฒนาเกษตรกรรม พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2568-2573การจัดเวทีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
โดยการจัดทำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเกษตรกรรม ผ่านการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและความต้องการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่จังหวัด
3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
1. การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม ตามมาตรา 11(1)
2. การจัดสวัสดิการสำหรับเกษตรกร ตามมาตรา
11(6) 3. การปกป้องสินค้าเกษตรไทยจากสินค้าเกษตรต่างประเทศ ตามมาตรา 11(9)
โดยการประชุมครั้งนี้มีเกษตรกรจากพื้นที่ในเขตชลประทาน เข้าร่วมกว่า
100 ราย
ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอมุมมองเกี่ยวกับปัญหาที่เกษตรกรในพื้นที่ต้องเผชิญ
พร้อมทั้งร่วมเสนอแนวทางและวิธีการแก้ไขเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2
พ.ศ. 2568-2573 ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเกษตร
รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานในภาคเกษตรให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรไทย