สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์: ๐๓๖-๗๗๖๑๖๒

20 พฤศจิกายน 2558

การอบรมสัมมนาเชื่อมโยงแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยสู่แหล่งจำหน่ายสินค้า Q

   สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี จัดอบรมสัมมนาเชื่อมโยงแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยสู่แหล่งจำหน่ายสินค้า Q ภายใต้โครงการพัฒนากลุ่มจังหวัด ปี ๒๕๕๗ โครงการยกระดับกระบวนการผลิตแปรรูปและการผลิตสินค้าปลอดภัย โดยมีนายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวถึงปัญหาและแนวทางการพัฒนาการเกษตรของจังหวัดลพบุรี ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี และมีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๐๐ ราย เข้าอบรมสัมมนา การอบรมสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นที่ ห้องประชุมโรงแรมลพบุรีอินน์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๘.๓๐ ถึง ๑๗.๐๐ น.

   “ทำนาปรัง มีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปี มีแต่หนี้กับซัง” เป็นประโยคที่นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ได้กล่าวไว้ในคราวเป็นประธานพิธีเปิดโครงการอบรมสัมมนาเชื่อมโยงแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยสู่แหล่งจำหน่ายสินค้า Q เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมโรงแรมลพบุรีอินน์
ท่านผู้ว่าฯ ได้กล่าวถึงปัญหาภาคการเกษตรของไทย ซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาหลัก ๓ ประการ ดังนี้
   ๑. การผลิตที่มีต้นทุนสูง
   ๒. ประสิทธิภาพการผลิตค่อนข้างต่ำ และ
   ๓. ราคาผลผลิตตกต่ำ โยเฉพาะพืชเศรษฐกิจของไทย เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยาพารา เป็นต้น
   ทำไมต้องผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ จาการศึกษาห่วงโซ่ของวงจรสินค้าภาคการเกษตรแล้ว พบว่า ผู้ผลิตเกษตรกรซึ่งเป็นต้นทาง หรือต้นน้ำ มีมูลค่ามีรายได้เพียง ร้อยละ ๓๐ เท่านั้น แต่ช่วงกลางน้ำ ได้แก่พ่อค้าคนกลาง หรือผู้แปรรูป และช่วงปลายน้ำ ได้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือผู้ส่งออก มีรายได้รวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๗๐ เมื่อผลิตสินค้ามีมาตรฐานปลอดภัยแล้ว ยังใช้วิธีการขาย การวางขายแบบเดิมๆ ปะปนกัน ไม่แยกแยะคุณภาพออกให้เห็นความแตกต่าง ราคาก็จะได้เหมือนเดิม ราคาเท่าเดิม จะทำไปทำไม ไม่มีข้อแตกต่าง เราจะต้องสร้างความแตกต่าง เกษตรกรต้องผันตัวเป็นผู้ประกอบการ คือ ต้องรู้ผลประกอบการของตนเอง รู้รายได้ รู้กำไรขาดทุน
   ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีการเปิดเขตเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเสรี ซึ่งก็มีทั้งทางด้านที่เป็นคุณ และด้านที่ไม่เป็นคุณจาการรวมตัวกันนั้น ซึ่งจะสร้างความยุ่งยากให้แก่ตัวท่าน จะต้องมีผู้ได้เปรียบ และผู้เสียประโยชน์ จะมีการแข่งขันทางการค้าอย่างรุนแรง ต่อไปเราต้องมาพิจารณาว่า จะทำอะไร ปลูกหรือผลิตอะไรแล้วไม่คุ้ม สู้ราคาเพื่อนบ้านไม่ได้ ก็ควรลดเลิก ตัวอย่าง เช่น ประเทศลาว ซึ่งมีประชากรน้อย จะผลิตผงซักฟอก ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าประเทศไทย เขาจะผลิตไปทำไม ซื้อจากไทยเราถูกกว่า การผลิตข้าวก็เช่นกัน จะต้องผลิตข้าวอย่างมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เป็นต้น
เรื่องข้าวที่เราบริโภคกันทุกวันนี้ จะแบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด คือ
   ๑. ข้าวที่มีคุณภาพสูง พบที่ประเทศจีน ซึ่งสูญพันธุ์ไม่พบเห็นมานานมากแล้ว แต่ด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มีการผลิตขึ้น ข้าวชนิดนี้มีความหอม นุ่มนอน ราคาสูงมาก
   ๒. ข้าวคุณภาพมาตรฐาน ได้แก่ ข้าวอินทรีย์ ข้าวปลอดสารพิษ ราคาดี สามารถส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ทำรายได้เข้าประเทศ
   ๓. ข้าวคุณภาพทั่วไป มีราคาต่ำ
การผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกร หากคิดว่าทำไปแล้ว ขาดทุนไม่คุ้มทุน สู้คนอื่นไม่ได้ ก็พยายามหาวิธีอื่น ตัวอย่างเช่น เคยทำนา หรือทำไร่ ประมาณ ๑๐ ไร่ ควรลดพื้นลงไปปลูกพืชแบบผสมผสาน สักประมาณ ๒ - ๓ ไร่ ให้มีรายได้จากทางอื่น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงลง ท่านชี้ชวนให้เกษตรกรลดต้นการผลิต ชวนให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

   ท่านผู้ว่าฯ ภานุ แย้มศรี ได้กล่าวในช่วงท้ายว่า จะต้องสร้างเศรษฐิกจระดับชุมชนให้เข้มแข็ง หาจุดนัดพบที่เหมาะสม หาตลาดกลาง สร้างความแตกต่างในตลาดสินค้าคุณภาพ สร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าปลอดภัย การเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ และการสร้างกลไกภายในให้เกื้อกูลกัน ทางจังหวัดฯ พร้อมจะให้การช่วยเหลือสนับสนุน และจะเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เกษตรกรทุกคน 











(ภาพโดย คุณมงคล แจ้งนิล สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี)