เปิดร่างสัญญาประชาคม
10 ข้อ หนุนปรองดอง เน้นการเมือง “บริสุทธิ์-ยุติธรรม”
เมื่อวันที่
17 กรกฎาคม 2560 เวลา 13.00 น. พล.ท.กู้เกียรติ ศรีนาคา แม่ทัพน้อยที่ 1 เป็นประธานเปิดเวทีสาธารณะในพื้นที่ภาคกลาง
26 จังหวัด เพื่อชี้แจงร่างสัญญาประชาคม โดยมีประชาชน ตัวแทนกลุ่มการเมือง
พรรคการเมืองในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 312 คนในพื้นที่ จ.ภาคกลาง จังหวัดละ 12 คน 71 พรรค การเมือง 2
กลุ่มการเมือง NGOs
ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และ
นายสำอาง แก้วประดับ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
ร่วมการประชุมเวทีสาธารณะ (ปยป.) ร่างสัญญาประชาคม
เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองและเดินไปข้างหน้าอย่างสันติ ณ
ห้องประชุมกองทัพบกภาคที่ 1
สำหรับเนื้อหาร่างสัญญาประชาคม
แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ บทนำ ความคิดเห็นร่วมและภาคผนวกซึ่งเป็นความเห็นของ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายรัฐมนตรี ที่ส่งมาเพิ่มเติม
สำหรับร่างสัญญาประชาคมที่จัดทำเอกสารความคิดเห็นร่วมประกอบด้วย 10 ข้อ คือ
1. คนไทยทุกคน
พึงร่วมมือกันสร้างบรรยากาศความสามัคคีปรองดองเพื่อให้ประเทศไทยมีความเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และเข้าใจระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ใช้สิทธิเสรีภาพอย่างถูกต้องในกรอบกฎหมาย
มีส่วนร่วมกับการเมืองภาคประชาชน
ยอมรับความแตกต่างทางความคิดส่งเสริมสถาบันการเมืองให้มีความเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งที่โปร่งใส
บริสุทธิ์ ยุติธรรม และยอมรับผลการเลือกตั้งซึ่งถือเป็นฉันทามติของคนไทยทั้งประเทศ
รวมทั้งร่วมกันตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐและการแก้ไขปัญหาโดยใช้กลไกรัฐสภา
2.คนไทยทุกคนพึงน้อมนำศาสตร์พระราชา
ประยุกต์ใช้ในชีวิต
3.คนไทยทุกคนพึงยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม
4.คนไทยทุกคนพึงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.คนไทยทุกคนพึงส่งเสริม
การดูแลคุณภาพชีวิต และสาธารณสุข
6.คนไทยทุกคนพึงเคารพ
เชื่อมั่น และปฏิบัติตามกฎหมาย
สนับสนุนกระบวนการยุติธรรมเพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม
7.คนไทยทุกคนพึงใช้ความรอบคอบในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ไม่บิดเบือน
8.คนไทยทุกคนพึงตระหนัก
ในการส่งเสริมสังคมให้มีมาตรฐานสากล ตามกฎกติการะหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี
9.คนไทยทุกคนพึงส่งเสริมการปฏิรูปประเทศทุกด้าน
ให้สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
10.คนไทยทุกคนทุกคนเรียนรู้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ
ทั้งนี้ร่างสัญญาประชาคมมาจากการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและมีความสำคัญในการผลักดันรัฐบาลแก้ไขปัญหาเพื่อให้ตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง