สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์: ๐๓๖-๗๗๖๑๖๒

18 กุมภาพันธ์ 2558

การปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การค้ำประกัน จำนอง

   เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ

   โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันและผู้ จำนองซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้นแต่เป็นเพียงบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ในการที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เท่านั้นโดยข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติปรากฏ ว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืม มักจะอาศัยอำนาจต่อรองที่สูงกว่าหรือความได้เปรียบในทางการเงินกำหนดข้อตกลง อันเป็นการยกเว้นสิทธิ ของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ค้ำประกันหรือผู้จำนองต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น กรณีจึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปไม่ได้รับ ความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมายรวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลาย อีกเป็นจำนวนมากดังนั้นเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


สรุปสาระสำคัญ พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ ดังนี้

    (๑) กฎหมายใหม่นี้เริ่มมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เป็นต้นไป

    (๒) สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนว่าค้ำประกันหนี้อะไร จำนวนเท่าใด และผู้ค้ำประกันจะรับผิดชอบเฉพาะหนี้ที่ระบุไว้ชัดเจนเท่านั้น หากขาดความชัดเจน ผลจะตกเป็นคุณแก่ผู้ค้ำประกันที่อาจทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด

    (๓) สัญญาค้ำประกันจะมีข้อตกลงกำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้นไม่ได้ หากฝ่าฝืน ตกลงกันไป ข้อตกลงในส่วนนั้นจะตกเป็นโมฆะ

    (๔) กรอบความรับผิดของผู้ค้ำประกันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ (ตาม มาตรา ๖๘๑ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา ๖๙๔ มาตรา ๖๙๘ และ มาตรา ๖๙๙) เจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกันจะทำสัญญากันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเพื่อขยายความรับ ผิดของผู้ค้ำประกันให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ได้ หากฝ่าฝืนทำสัญญาตกลงกันไป ข้อตกลงที่ขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกัน นี้ จะตกเป็นโมฆะ

    (๕) ขั้นตอนในการที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ เดิมกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ให้ชัดเจนนัก แต่กฎหมายใหม่ได้เขียนขั้นตอนให้เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน หากเจ้าหนี้ปฏิบัติผิดขั้นตอน หรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน อาจมีผลทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดได้

    (๖) ถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ชั้นต้นเท่าใด ก็ให้ภาระความรับผิดของผู้ค้ำประกัน ลดลงเท่านั้น ข้อตกลงใดที่จะมีผลเป็นอย่างอื่น ให้ตกเป็นโมฆะ

    (๗) การตกลงกันไว้เป็นการล่วงหน้าว่า หากเจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันให้ความยินยอมในการผ่อนเวลานั้นๆด้วย เช่นนี้ กฎหมายใหม่ให้ถือว่าตกเป็นโมฆะ

    (๘) การจำนองที่จำนองเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น (ผู้จำนองกับลูกหนี้เป็นคนละคนกัน) จะมีข้อตกลงกันว่าหากบังคับจำนองแล้วยังเหลือหนี้อยู่เท่าใด ให้ผู้จำนองยังคงรับผิดชำระหนี้ ในส่วนที่ยังคงเหลือด้วย ข้อตกลงเช่นนี้จะตกเป็นโมฆะตามกฎหมายใหม่

    (๙) กฎหมายเดิมไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้จำนองในการที่จะเป็นฝ่ายเร่งรัดให้มีการบังคับจำนองให้จบๆ ไป แต่กฎหมายใหม่ได้มีบทบัญญัติให้สิทธินี้แก่ผู้จำนอง ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องบังคับจำนอง ขายทอดตลาดภายใน ๑ ปี

   คลิกเพื่อเปิดอ่าน